Wednesday 30 January 2013

Code,IP ,TK/TCEs ...relations..Traditional Knowledge, Genetic Resources and Cultural Expressions...Mixed or Merge?/

Code
Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore : Twenty-Third Session
เนื่องจากโลกนี้มันกลม และบางทีก็กลอกกลิ้งเหมือนน้ำวิ่งบนใบบอน ในเรื่องที่ประสงค์ไว้ในใจลึกๆบอกไม่ได้ เอาแต่ส่งสัณญาณ ปล่อยให้ใครๆเขาถอดรหัสกันตรงใจคนส่งบ้างไม่ตรงบ้าง แต่ก็ใกล้เคียง พอไปประติดประต่อสร้างสรรรังสรรเป็นการงานโครงการเพื่อช่วยเหลือความอยู่รอดของตนเอง บางคนมีมากแล้วพอแล้ว ก็ทำไปเพื่อประโยชน์ของสังคมชาวโลกนี้เสียบ้าง เพราะมีใครมาเถียงว่าอย่ามาเอาทรัพยากรอันแน่นขนัดจากหัวสมองของอารยะชนในระดับศาสดาไปจนชนชั้นปราชย์ชาวบ้านไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าอย่างเดียวก็ไม่ได้  บ้างเป็นบริษัทจดทะเบียนในหลักทรัพย์ มีพืชผักสัตว์อันใด สารอินทรีย์ใดในโลกนี้ ที่จะวิจัยพัฒนาเพื่อขจัดโรคภัยของชาวโลกได้ เขาต้องทำขึ้น แต่ค่าของราคานั้น หากไม่เอาคนอีกเก้าสิบเปอรเซ็นของโลกที่รายได้น้อยมาเป็นหุ้นส่วนแบ่งกำไรปันผลจากการค้าที่มาจากการพัฒนาความคิด อันมาจากการพัฒนาทางอินทรียชีวะ บ้างไปเลิศล้ำขนาดพันธุวิศวกรรมศาสตรไปกระนั้น ล่อกันเข้าไปถึงดีเอ็นเอ ยีน โมเลกุลที่มีความแปลกแยก นานา สารพัด เป็นความหลากหลายทางชีวภาพอันมหัศจรรย์พันลึก และสิ่งเหล่านี้จับต้องได้ และแปลงสภาพมาเป็นสินค้าก็ได้ด้วย  และมีอยู่มากมายที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินของโลกนี้สืบต่อทอดกันมาแต่ยุคเต่าล้านปีและไดโนเสาร ปรากฏเป็นทรัพย์แห่งแผ่นดินและทรัพยากรของโลก  และเอามาหากินเป็นเงินได้จนหมดสิ้น เช่นเต่าล้านปีและไดโนเสารแช่อิ่ม ในโหลดอง หรือกระดูกไดโนเสารเพื่อการดนตรีโดยเฉพาะเหมือนมนุษยหินฟลินโตน หากว่าพวกมันยังอยู่ และเมื่อมีมนุษยเกิดขึ้นบนโลก เราก็อพยพไปเรื่อยๆ ทำไร่เลื่อนลอยอะไรอย่างนี้นั่นประไร เริ่มมีพืชผักสัตวเลี้ยงเป็นของตัวเอง มีการพัฒนาศิลปะวิทยาศาสตรเป็นของตัวเองด้วย เช่นการวาดรูปบนกำแพงถ้ำแก้เหงาอย่างที่ผาแต้มบ้านเรา หรือคิดวิธีการจุดไฟและทำอาวุธล่าสัตว ป้องกันตน กระทั้งพัฒนาเป็นตลาดขายอาวุธสงครามกันเกร่อ มีการโฆษณาอาวุธมหาประลัย ผ่านหนังที่ทุ่มทุนสร้างให้เกิดภาพความวิบัติต้นทุนมูลค่ามหาศาลของบางประเทศจนเกิดปัญหาข้างเคียงตามมากับลูกเล็กเด็กแดงเหมือนอาการแพ้ยาที่ต่อเนื่องรักษาไม่หาย  และกฏหมายภาครัฐ กลไกในทางเศรษฐกิจในบางภูมิภาคของโลกก็มีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเปิดโอกาสให้ เป็นปัญหาของความแตกต่างช่องว่างทางสังคมในเรื่องรายได้ ตราบที่กลไกของภาครัฐไม่ไปจำกัดดูแลให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เราจะกำจัดปัญหาความยากจนไม่ได้ หากเราต้องการกำจัดระบบทุนนิยม ต้องบังคับเงินปันผลให้กับกลุ่มหุุ้นส่วนพิเศษของโลกนี้ คือกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อยู่ในชุมชนนั่นเอง เนื่องคนนั้นมาอยู่ในพื้นที่ทีหลังพวกทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลาย ซึ่งธรรมชาติไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง จะบอกว่าภูเขาเกาะแก่งแหล่งน้ำเป็นทรัพย์ของผู้ใดก็ไม่ได้ นอกจากใจคิดแบบเสรีนิยมว่า เงินซื้อได้ ของในโลกนี้ที่เป็นอยู่ในทางภูมิศาสตร์ไม่ได้เป็นของใคร มันเป็นของฟรีของสาธารณะ คนต่างหากมาอยูทีหลัง แล้วจะมาหวงมาห้ามทำไมกันนี่ มิน่าบางประเทศบอกว่าโลกนี้มันไม่พัฒนาเลยเว้ยเฮ้ย มันหมดยุคไปแล้วไอ้ที่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศด้อยพัฒนา คนต่างหากเล่าที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการป้องกันตนสิทธิหน้าที่ของตน รักษาสมบัติของตน และระมัดระวังแทนพระเจ้าของโลกนี้ที่ดีดโลกนี้ออกมาจากดาวฤกษ์ดวงไหนหนอแสนแสนล้านปีมาแล้ว จนมีทรัพยากรอันมีค่ามากมายของแผ่นดินผืนน้ำทั่วโลกนี้ อย่าได้คิดเลยทีเดียวว่าสมบัติของโลกเป็นของใครของประเทศใดแต่มันเป็นสมบัติของโลกนี้ ที่เป็นหน้าที่ของทุกคน ต้องควักกระเป๋าแชรกันจ่ายเพื่ออนุรักษ์รักษาไว้
เช่นรัฐบาลเก็บภาษีมาจ่ายช่วยบำรุง อุทยานที่มีสัตว์มีป่าไว้ และภาคเอกชนก็ร่วมกันลงขันช่วยภาครัฐด้วยการตั้งกองทุนบ้าง บริจาคกันเข้าไป ทำทรัสตีบ้าง เพื่อจะได้มีสตังคมาบำรุงรักษาศิลปะกรรมและธรรมชาติไว้ เก็นค่าผ่านประตูค่าสมาชิก มีชมรม มีการทำสินค้าขายเอาสตังคมาคอยทะนุบำรุงทรัพยของชาติและของโลกเหล่านี้ ให้เกิดสมดุลในสิ่งแวดล้อม อากาศก็จะไม่แปรปรวนบ้าบอนักหนา จะให้ภาครัฐออกกฏหมายมาบังคับขืนใจนายทุนผู้มีอันจะกินให้จ่ายมาใหรัฐไปบำรุงธรรมชาติวัฒนธรรมกันให้ยุบย๊ับใช่ไหม  บางประเทศทีว่าพัฒนาตอนนี้เก็บภาษีใกล้แปดสิบเปอรเซนแล้วกับผู้มีรายได้มหาศาล และภาษีจากการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพยด้วย ทำให้ผู้คนประเภทนี้หนีหลบลี้มาฝังตัวแถบที่เขาเรียกว่าประเทศพัฒนาน้อยกว่า เสียภาษีบ้างไม่เสียบ้าง พวกภาครัฐที่มีปัญหาคอรัปชั้นเก่งนี่ชอบจริงๆ  เอาเงินมาฝังใส่ไหไว้ดีกว่า และเก็งกำไรตลาดหุ้นวันต่อวันวินาทีต่อวินาที ไม่เคยมีหุ้นหรือปันผลใหชุมชนท้องถิ่นที่รักษาสมบัติของโลกในพื้นที่ ให้เขาได้ทะนุบำรุงทรัยากร ธรรมชาติ ของเก่าโบราณไว้ให้เราชื่นชม  และจำต้องผลิตภูมิปัญญาทำเป็นสินค้าท้องถิ่นประทังชีวิต จะให้ทูนหัวยอมให้มาเอาไปทำการค้าเชิงพานิชยเชิงอุตสาหกรรมจนหมดสิ้นก็ไม่ได้ เพราะพวกนี้เอาตังคจ่ายให้พวกนักวิจัยนักเคมีที่หัวใสทำเงินทำนวัตกรรมสินค้าเทคโนโลยีตัวใหม่ป้อนตลาดของโลก และ พืชผักแร่ธาติก้อนหินก้อนกรวดที่เอามาถลุงมาตำมาสูบจากแหล่งทรัพยากรและพลังงานของโลกที่สืบทอดมาล้านล้านปี ให้มันลงขวดลงกระปุกลงไปในการโปรโมทภาพเสียงกลิ่นรสยีนโครโมโซมที่หลากหลายผ่านคลื่นเสียงคลื่นแสงความสั่นสะเทือนแลอิเตอรเนทบราวเซอรช่องทางคอนเนคทุกชนิด เชื่อมต่อไปในระบบข้อมูลออนไลนเพื่อให้ได้ข้อมูลของโลกใหมากที่สุดในการเข้าถึงแหล่งทรัยากรของโลก และนำมาเป็นช่องทางในการตลาดให้คนจ่ายเงินซื้อ เอาเงินเข้ากระเ๋าสเตคโฮลเดอรและหุ้นส่วนทั้งหลาย ที่ไม่ใช่ชุมชนท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะคนเข้ามาอยู่อาศัยในท้องถิ่นทีหลัง ทรัพยและวัตถุโบราณพวกนี้มันเป็นของโลก มาตั้งห้าร้อยล้านล้านปีแล้ว จะมาเยื้อยุด ทำไม ขวางโลกแท้ สิทธิชุมชนต้องมีข้อจำกัดข้อยกเว้น เพื่อสังคมของโลกอย่างนั้น เรื่องแบ่งปันบอกมาชอบ แต่ให้ปันผลกำไรตอบแทนแหล่งข้อมูลแหล่งทรัพยากรที่ฉันได้นำมาทำใส่กระป๋องการค้าของฉันนั้นอย่าได้หวัง   อย่ามาขึ้นทะเบียน จดสิทธ อยากรู้แหล่งที่มาของสินค้าในกระปุกกระป๋องของข้อย  รังสรรมันเข้าไป เพราะมันต้องมีการสร้างสรรเพื่อการค้า พอกันเสียที รังสรรเพื่อศิลปะเพื่สิ่งประดิษฐคิดค้นเพื่อรักษาชีวิตของชาวโลก  ที่ฉ้นว่ามันเป็นของฟรีของโลก บ้าแท้ ใครคิดมาเป็นเจ้าเข้าเจ้าของกันเนี่ย

มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกกฏระเบียบเพื่อให้ชุมชนรู้ว่าเราจะป้องกันตนเองอย่างไรในการมีสัณญานของการละเมิดสิทธิ  หรือเราต้องมีการสกัดการเข้าถึงเพื่อการค้าการพานิชยอย่างเดียวทำอย่างไร ทรีททีหรือสนธิสัญญาใดไม่อาจจะมาบังคับคนของโลกได้ โลกทำไมไม่พัฒนาความคิดของคนเสียทีนะ เห็นไหมว่าเศรษฐกิจของบางประเทศวินาสสันตะโรไปหมดแล้ว รีบย้ายสำมะโนครัวมาอยู่ประเทศที่น่าจะไม่เอาเงินมากประหยัดจ่ายสินบนได้ดีกว่าจ่ายภาษีเยอะในประเทศพัฒนาแล้วดีกว่า
'เอวัง
ภาษานักจิตวิทยาเขาว่า กลไกการป้องกันตัวแบบปกป้องตนเองself mechanism มีมากมายหลากหลาย แต่กลไกการป้องกันตัวของชุมชนท้องถิ่นที่สร้างสรรจะเป็นฉันใด ภาครัฐจะเข้าไปช่วยออกกฏบัตรปกป้องทรัพยากรของโลกนี้ที่บังเอิญชุมชนนั้นเข้าไปอาศัยอยู่ห้าร้อยโกฏปีไม่ให้เข้าตลาดทุนไปจนหมดสิ้นได้อย่างไร ภาคเอกชนจะร่วมมือร่วมใจช่วยชาวบ้านบริจาคทรัพยตั้งกองทุนทำทรัสตีปกป้องทรัพยสมบัติประเพณีสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หลุดไปเป็นสินค้าแบรนเนมไปจนหมดสิ้นได้อย่างไร ต้องร่วมมือกัน กลไกที่เป็นรูปธธรมในประเทศท้องถิ่นของตนน่าจะเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปกป้องท้องถิ่นได้ในแบบการป้องกันตนอย่างสร้างสรร จะไปรอให้นักวิชาการของโลกมัดมือชกให้มีการออกกฏมาปกป้องทรัยพของโลกที่อยู่ในมือท้องถิ่น ให้เป็นระเบียบเดียวทั่วโลกเห็นจะยาก
World is not yours and global spin  is not my right to stop it...rotate around for right of community or right of public knowledge?...which one is for individual and any are for private ..some for sold out into better qualify goods or bio diversity for treat disease or motivate creative thinking into industrial engine regime...if everything that are resources  must be under limit and exception...how to progress technology that keep all information s of this world only for public market capital or for social community to relief poverty and make flat the gap of society too???if we have no rules ...it must still be happen unappropriated access and defense???forever... Eternally...

Sugar day and Himalaya mandate...???and appreciated in nice welcome from Thai embassy in India...




































http://www.mfa.go.th/asean/th/code?c=a


  • Ambassador

    เอกอัครราชทูต
    - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง
    ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador
    - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ
    - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัครราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
    - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

    ผู้แทนทางการทูตในอันดับแรก หรือ หัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูต
    ตามปกตินั้นจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ?Ambassador? (เอกอัครราชทูต) ในสมัยก่อนเอกอัครราชทูตที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับจะมีตำแหน่งต่อท้ายว่า ?Ordinary? (สามัญ) ส่วนเอกอัครราชทูตที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษ จะต่อท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ต่อมาความแตกต่างดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ทุกวันนี้บรรดาเอกอัครราชทูตทั้งหลายจะมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ทั้งสิ้น การที่ได้รับพ่วงคำว่า ?Plenipotentiary? (ผู้มีอำนาจเต็ม) เข้าไปกับตำแหน่งอีกคำหนึ่งนั้น ย่อมหมายความว่า เอกอัครราชทูตมีอำนาจเต็มที่จะทำการเจรจาทางการทูตตามปกติใดๆ ได้ แต่การที่จะทำการเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาได้นั้น จำเป็นที่เขาจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษตามปกติหรือในหลักการ เอกอัครราชทูตจะติดต่อพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำ เซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ Guide to Diplomatic Practice ซึ่งเซอร์เนวิล แบลนด์ (Sir Neville Bland) ได้เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 (ดู น.167) มีความตอนหนึ่งว่า?บางคราวเป็นที่เข้าใจกันว่า เอกอัครราชทูตสามารถเรียกร้องขอพบกับตัวประมุขของรัฐได้ไม่ว่าเวลาใด แต่อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากราชสำนักหรือรัฐบาลที่เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสเข้าพบปะพูดจากับประมุขของรัฐ อนึ่ง ในอดีตกาลมีประเทศใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่แห่งทำการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน จึงเหลือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ เป็นจำนวนมากที่มีตำแหน่งเรียกว่า อัครราชทูต (Ministers) เท่านั้น อย่างไรก็ดีการที่รัฐผู้ส่งจะส่งผู้แทนทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต (Ambassador) ไปยังรัฐผู้รับนั้นจะถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างยิ่ง แต่ในสมัยนี้ การที่มีสถานเอกอัครราชทูตแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตถูกลดศักดิ์ศรีและความขลังลงไปมากเมื่อเทียบกับสมัยอดีตกาลเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตนี้ ได้มีการนำเอาคำจำกัดความของตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นคำจำกัดความของ เซอร์เฮนรี่ วอตตัน (Sir Henry Wotton) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวนิส ในรัชสมียของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 ว่า?เอกอัครราชทูต คือ บุคคลผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกส่งไปกล่าวเท็จในต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเขา? (?An ambassador is an honest man sent to lie abroad for the good of his country?)เล่ากันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1904 ระหว่างที่เซอร์เฮนรี่ วอตตัน เดินทางจากกรุงลอนดอนเพื่อไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่กรุงเวนิส ท่านได้แวะพักที่เมืองอ๊อกสเบิร์ก (Augsburg) ณ ที่นั้นท่านได้เขียนเป็นที่ระลึกไว้ในสมุดเยี่ยมของเจ้าของโรงแรมซึ่งเป็นสหายกับท่านในเชิงหยอกล้อ แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ กลับเขียนเป็นภาษาละตินว่า ?Legatus est vir bonus peregre missus ad mentiendum Republicae causa? ข้อความภาษาอังกฤษนั้น มีการเล่นคำว่า ?lie? ซึ่งนอกจากจะหมายความว่ากล่าวเท็จแล้ว ยังมีความหมายว่า ?พักอยู่? (Reside หรือ sojourn) ก็ได้ แต่บังเอิญคำละตินว่า ?admentiendum? มีความหมายเพียงอย่างเดียว คือ ?กล่าวเท็จ? ในไม่กี่ปีต่อมาคู่อริทางการเมืองของเซอร์เฮนรี่ได้ไปพบคำจำกัดความนี้เข้า จึงกราบทูลกษัตริย์เจมส์ให้ทรงทราบ หลักฐานประการหนึ่งอ้างว่ากษัตริย์เจมส์ทรงพิโรธอย่างยิ่ง ถึงกับให้เซอร์เฮนรี่ยุติการปฏิบัติราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]




  • amendment

    การแก้ไขเพิ่มเติม
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • Amendments to the Charter of the United Nations

    การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ
    กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงเสียใหม่
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • amity

    สันถวไมตรี
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]





  • arms control

    การควบคุมอาวุธ
    หมายถึง การจำกัดชนิดและจำนวนอาวุธไม่ให้มีมากเกินความจำเป็น
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • arms reduction

    การลดอาวุธ
    หมายถึง การลดจำนวนอาวุธที่ครอบครองอยู่
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • Arrival Ceremony

    พิธีการต้อนรับ
    ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]



Team Thailand

ทีมประเทศไทย
หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทยในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผนงานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]



Termination of Mission of Diplomatic Agent

ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้นสุดลง
1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบกำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้นทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]



TAC (Treaty of Amity and Cooperation)

สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
" เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ "




Final Act

กรรมสารสุดท้าย
คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) 


Flexible Engagement

ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น
" ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน "
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]


Foreign Policy

นโยบายต่างประเทศ
คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]

Functions of Diplomatic Mission

ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล
[ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]

  • Freedom of Movement of Diplomatic Agents

    เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทนทางการทูต
    โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหวและการเดินทางในอาณาเขตของตน?
    [ หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ]
  • Freedom of Movement of Member of Consular Post

    เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล
    เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล?

FTA ( Free Trade Area )

เขตการค้าเสรี
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม

]www.cdd.go.th
http://www.wipo.int/meetings/en/documents.jsp
http://www.wipo.int/meetings/en/details.jsp?meeting_id=27423

Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore

 http://www.law.northwestern.edu/journals/jihr/v10/n2/3/index.html
Twenty-Third Session
Geneva, February 4 to 8, 2013
 Traditional Knowledge and Global Lawmaking
http://spicyipindia.blogspot.com/2010_03_01_archive.html

No comments:

Fish