Monday 2 August 2010

84 YRS OLD KING CEREBRATE FLAGSHIP VILLAGES SUFFICIENCY FOCUS,,,SPREAD INSIDE OUR COUNTRIES...












Really all property under our kingdom still be under caring by our king s mercy..in suffer area of our kingdom...long time ago ..they are suffer from living far away from all convenience and basic infrastruction...Many flagship villages emerge in that time...many villages look initiate from king s funde ,not only from goverment basic budget . King donation fund for our poverty and rural zone make sufficiency villages are success from ...many private companies that try to donate and offer many king s project for make nice flagship villages for long time... for many years..and now our king is nearly 84 years old ..we..CDD..are cerebrate for our majesty by create flagship villages project in phylosophy about sufficiency policy that is our king innovation..project ideal..
We still walk along our majestic way for recover our rural zone from poverty and suffer from hunger and low economic..
that s always our ASEAN ultimate goal..to DEVELOPT our COMMUNITY MOVE on the right way~~~~!!!!

Sugar after observe in prepare ASEAN forum for reinforcement ant move the world on King flagship phylosophy ...sufficiency IDEAL on nice growth and development together...We built leader vaccine in community for prevent next poverty growth ..our development is not only support or subsidized or gave compensate or welfare after damage...but we protect our community s right ALWAYS...


ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชนในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ -- พุธที่ 24 มีนาคม 2553 13:03:45 น.

กรุงเทพ--24 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ

ตามที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มี กำหนดการเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 5-9 เมษายน 2553 นั้น

กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่จะเดินทางไปรายงานข่าวการประชุมดังกล่าวตามที่ได้แจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ดังนี้

1. สื่อมวลชนต้องลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (http://register.asean2010.vn) หรือกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนส่งให้กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2553 สื่อมวลชนที่ลงทะเบียนเท่านั้นที่จะได้รับบัตรผ่านเข้าออกพื้นที่ประชุมฯ

2. สื่อมวลชนต้องแจ้งรายละเอียดอุปกรณ์ที่จะนำไปปฏิบัติงานด้วย โดยกรอกในแบบฟอร์มและส่งให้กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามก่อนเดินทางเข้าประเทศเวียดนาม

3. ศูนย์ข่าวตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ด้านตะวันออกของศูนย์ประชุม National Convention Center (NCC)

4. สื่อมวลชนที่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่นอกพื้นที่ประชุมต้องยื่นคำร้องต่อทาง การเวียดนามล่วงหน้า โดยเขียนในแบบฟอร์มลงทะเบียนหรือเขียนในแบบฟอร์มที่แจกในศูนย์ข่าวของการ ประชุมฯ

5. สื่อมวลชนที่จะนำพาหนะไปเอง ต้องยื่นคำร้องขอบัตรผ่านเข้าออกพื้นที่ประชุมสำหรับยานพาหนะต้องกรอกใบคำร้องและส่งให้กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม

รายละเอียดอื่นๆ ปรากฏตามเอกสารแนบ ทั้งนี้ สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Ms. Le Thu Hang รองอธิบดีกรมสื่อและสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม โทรศัพท์ +84-4-3799-3451 โทรสาร +84-4-3823-4137 E-mail phongvienbc@mofa.gov.vn

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--

http://www.ryt9.com/s/mfa/869593

http://www.chaoprayanews.com/2009/02/26/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B/











http://www.mfa.go.th/business/1092.php


คมชัดลึก :ไทย ดัน อาเซียน +3 เร่งขับเคลื่อน กองทุนกู้ ศก. 1.2 แสนล้านดอลล่า ผุดคลังสต็อคข้าวอาเซียน จัดตั้งตั้งศูนย์กระจาย - ผลิตวัคซีน สู้หวัด 2009

(22ก.ค.) ที่โรงแรมเชอรตัน แกรนด์ ลากูนา ภูเก็ต เวลา 10.00 น. นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่างถึงประเด็นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น การประชุมรัฐนตรีต่างประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดเอเชียตะวันออก และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเป็นราย คู่เจรจา 9 ประเทศและ 1 กลุ่มประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ จีน นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และสหภาพยุโรป ที่จะมีขึ้นวันนี้ (22 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมจะหารือสานต่อมาตรการริเริ่มใหม่ โดยจะมีการเร่งใช้เงินกองทุน จำนวน 1 แสน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ภายในปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การจัดตั้งคลังสำรองข้าว ซึ่งไทยมีสำนักงานสำรองข้าวชั่วคราวอยู่แล้ว โดยการประชุมนี้จะผลักดันให้เป็นสำนักงานถาวรในการสำรองข้าวในภูมิภาค โดยขณะนี้จีนกับญี่ปุ่น แสดงความจำนง และคาดว่าเกาหลีใต้จะแสดงความจำนงตามมาในเร็วนี้ ที่จะนำข้าวมาเก็บไว้ในสำนักงานดังกล่าว

นอกจากนี้จะมีการหารือ เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยจะนำมาตรการที่เคยประชุมไว้เมื่อเดือนพ.ค. มาบังคับใช้อย่างจริงจัง ซึ่งไทยจะเสนอเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตวัคซีนป้องกันของภูมิภาคที่ทำงาน ร่วมกับองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องการผลิตวัคซีนให้เพียงพอและประ ชาชนหาซื้อได้ง่ายในราคาที่ถูก รวมทั้งจะหารือด้านพลังงานด้วย ทั้งนี้การประชุมทั้ง 3 เวที จะเน้นในเรื่องของภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการก่อการร้ายเท่านั้น แต่จะคลอบคลุมในทุกๆด้าน

นาย วิทวัส กล่าวว่า ส่วนกรณีปัญหาคาบสมุทรเกาหลีเหนือที่จะมีการหารือกันในที่ประชุมว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 16 ซึ่งไทยในฐานะประธานอาเซียน จะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง จะไม่ใช้เวทีนี้ในการโจมตี แต่เป็นในรูปแบบของการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา

ส่วน ที่สหรัฐฯ มีความกังวลว่าเกาหลีเหนือและพม่า อาจแลกเปลี่ยนเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ นายวิทวัส เห็นว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นการนำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้ในทางที่ไม่ใช่สันติวิธี เป็นข้อห้ามอยู่แล้ว





http://www.isc-gspa.org/News/view.asp?subjectid=1568


http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=28795


สาระสำคัญของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15

ข่าวต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ -- จันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2552 15:04:09 น.
กรุงเทพ--26 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 เวลา 09.30 น. นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน แถลงข่าวเกี่ยวกับกำหนดการประชุมที่จะมีขึ้นในวันนี้ (24 ตุลาคม)

อธิบดีกรมอาเซียน กล่าวว่า การประชุมหลักๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ ได้แก่ การประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาทิ การประชุมสุดยอดระหว่างอาเซียนกับจีน กับญี่ปุ่น กับเกาหลีใต้ และกับทั้งสามประเทศพร้อมกันในกรอบการประชุมอาเซียน + 3 จากนั้น ในช่วงบ่าย จะเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียนกับอินเดีย

ประเด็นหลักที่คาดว่า ที่ประชุมต่างๆ ข้างต้น จะหยิบยกขึ้นหารือกัน ได้แก่ การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งในด้านกายภาพ อาทิ การสร้างเครือข่ายการคมนาคม ซึ่งจีนได้ประกาศให้เงินทุนกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน และที่มิใช่กายภาพ อาทิ การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน และการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือ ด้านการศึกษา และการแก้ไขปัญหาในระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น การแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโลก การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินในกรอบมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคระบาด

จากนั้น ดร. ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือทวิภาคีไทย — ญี่ปุ่น และประเด็นสำคัญที่ผู้นำได้หารือกันในการพบกันในช่วงเช้าของวันนี้ (24 ตุลาคม) ในกรอบการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Summit Retreat)

รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ ผู้นำอาเซียน ได้หารือเกี่ยวกับการหามาตรการใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างการดำเนินการของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการจัดการกับปัญหาท้าทายต่างๆ อาทิ การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการประชุมกลุ่ม G 20 (การประชุมของกลุ่มประเทศที่มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจของโลก 20 ประเทศ) การปรับปรุงรูปแบบการประชุมอาเซียนและการประชุมกับภาคประชาสังคมให้มีความ เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และการพัฒนาระบบการเตือนภัยพิบัติ เป็นต้น

(รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการหารือของผู้นำอาเซียนในกรอบการประชุม ASEAN Summit Retreat ปรากฏตามเอกสารแนบ)


สรุปประเด็นสำคัญของการหารือของผู้นำอาเซียนในช่วงเช้าของวันที่ 24 ตุลาคม 2552

- ภายหลังการให้การรับรองเอกสารต่างๆ ตามที่ที่ประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนเสนอ ผู้นำอาเซียนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายการติดต่อสื่อสารและคมนาคม การรับมือกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาโลกร้อน/การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจโลก และการสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน.

- ในเรื่องการสร้างความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ผู้นำประเทศสมาชิกย้ำถึงความมุ่งมั่นของแต่ละประเทศในการสนับสนุนให้อาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างแท้จริง ทั้งในเรื่องของการสร้างระบบการคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางรถไฟ การเดินทางทางทะเลและทางอากาศ การค้า และเทคโนโลยีสารสนเทศ และในเรื่องของการสร้างความเชื่อมโยงด้านจิตวิญญาณของประชาชนในประเทศ สมาชิกอาเซียน โดยผู้นำอาเซียนตระหนักว่า การส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงที่มากขึ้นในภูมิภาค ไม่เพียงแต่จะเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการรวมตัวกันเป็นประชาคมของอาเซียนซึ่งประชาชน เป็นผู้ได้รับประโยชน์เท่านั้น หากแต่ยังจะส่งผลให้อาเซียนสามารถเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเทศ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ อันถือเป็นการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ในกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของภูมิภาค (regional architecture)

- ในส่วนของการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ (เครือข่ายการคมนาคมขนส่ง) ไทยแสดงความพร้อม ในการจัดให้มี “ศูนย์ทางหลวงอาเซียน” (ASEAN Highway Centre) และคาดหวังว่า อาเซียนจะพัฒนาเส้นทางรถไฟของอาเซียนให้เป็นระบบรางคู่ โดยการบรรจุประเด็นนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนในแผนแม่บทด้านการเชื่อมโยงของอา เซียนที่จะได้รับการจัดทำขึ้นในอนาคต

- ผู้นำอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการ ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค/โครงสร้างพื้นฐาน และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีคลังของรัฐสมาชิกไปจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดตั้ง “กองทุนอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน” โดยเชื่อมโยงกับกองทุนต่างๆ ที่จีนและญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นว่าจะเสนอให้จัดตั้งขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้ นำอาเซียนครั้งต่อไป (ที่เวียดนาม) นอกจากนี้ อาเซียนจะติดต่อกับประเทศคู่เจรจาอื่นๆ ของอาเซียน รวมถึงฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ภายนอกอาเซียน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงด้านต่างๆ ภายในภูมิภาค และการมีเงินทุนสนับสนุนที่พอเพียง

- ผู้นำอาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนไปจัดตั้ง “คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการสร้างความเชื่อมโยงของอาเซียน” ทั้งนี้ โดยให้คณะทำงานฯ สามารถเริ่มปฏิบัติงานได้ในช่วงต้นปีหน้า (2553)

- ในส่วนของการสนับสนุนให้พลเมืองภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเชื่อมโยงกัน ด้านจิตวิญญาณ ผู้นำอาเซียนได้หารือกันเกี่ยวกับข้อเสนอต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ของภูมิภาคมีความรู้สึกร่วมกันถึงความเป็น อาเซียน (ASEAN spirit) อาทิ การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ เพื่อให้ผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ของประเทศสมาชิกรู้จักกันมากขึ้น และการจัดทำหลักสูตรการศึกษาของแต่ละประเทศที่จะช่วยเอื้อให้เยาวชนของแต่ละ ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของประเทศอื่นในภูมิภาคมาก ยิ่งขึ้น

- ผู้นำอาเซียนแสดงความกังวลว่า ปัญหาโลกร้อน/การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยท้าทายที่มีนัยสำคัญ โดยผู้นำอาเซียนแสดงความพร้อมที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำงานร่วมกันและร่วม มือกับประเทศอื่นๆ ในการประชุม Copenhagen Summit (การประชุมผู้นำโลกเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม ศกนี้) เพื่อให้การประชุมมีผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับได้ของทั้ง ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนา และในการนี้ ผู้นำอาเซียนเห็นว่า แถลงการณ์ของอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Statement on Climate Change ซึ่งผู้นำได้ให้การรับรองในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้) จะเป็นพื้นฐานที่อาเซียนจะใช้ในการประชุม Copenhagen Summit

- ในประเด็นเกี่ยวกับการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือซึ่ง กันและกันเพื่อให้อาเซียนมีการเตรียมความพร้อมที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีระบบแจ้งเตือนภัยที่ดี การมีกลไกการการส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ทันท่วงที และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในการดำเนินการตามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยการบริหารจัดการภัยพิบัติและการ รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Agreement on Disaster Management and Emergency Response) ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายปีนี้ (2552) โดยผู้นำอาเซียนได้รับทราบถึงความจำเป็นที่หน่วยงานด้านกลาโหมของรัฐสมาชิก ซึ่งมีศักยภาพและบุคลากรในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ จะต้องมีส่วนร่วมในการรับมือกับปัญหาภัยพิบัติ และเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่อาเซียนจะคงความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ภายนอกภูมิภาค รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการภัย พิบัติ และการเพิ่มพูนทักษะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้หารือกันเกี่ยวกับความจำเป็นของอาเซียนในการมีอาหารสำรอง (food reserve) เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินด้วย

- ผู้นำอาเซียนแสดงความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กองทุนสำรองพหุภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative Multilateralization หรือ CMIM ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งกู้ยืมของประเทศที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจาก การสำรองอัตราแลกเปลี่ยน) ซึ่งมีมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในปลายปีนี้ (2552) โดยการมีผลบังคับใช้ของกองทุนฯ จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างความสามารถของอาเซียนในการรับมือกับ ผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ไทยยังแสดงความพร้อมที่จะเป็นสถานที่ตั้งชั่วคราวของกลไกการติดตามความ เคลื่อนไหวและแจ้งเตือนภัยทางเศรษฐกิจ (surveillance unit) ด้วย

- ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องว่า อาเซียนควรได้รับโอกาสต่อไปให้เข้าร่วมกลุ่ม G-20 (การประชุมของกลุ่มประเทศที่มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจของโลก 20 ประเทศ) และว่า กระบวนการหารือระหว่างอาเซียนกับ G-20 ควรได้รับการทำให้เป็นกลไกถาวร ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของประเทศตนเองไปหารือกัน เพื่อจัดทำท่าทีของอาเซียนในเรื่องนี้ รวมทั้งได้เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มติดต่อสื่อสารของอาเซียน (contact group) โดยมีเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียนประเทศต่อไป อินโดนีเซีย ในฐานะสมาชิกของ G-20 และเลขาธิการอาเซียน เป็นสมาชิก เพื่อทำหน้าที่ประสานท่าทีของอาเซียนด้วย

- ในเรื่องการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ผู้นำอาเซียนเห็นถึงความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องร่วมมือกันมากขึ้นในเรื่อง นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การเสริมสร้างการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และพลังงาน สะอาด

- ในประเด็นเกี่ยวกับการไม่เผยแพร่ขยายอาวุธ ผู้นำอาเซียนให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนให้การประชุมทบทวนการดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาการไม่แพร่ ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-proliferation Treaty Review Conference) ที่จะมีขึ้นในปีหน้า (2553) โดยมีฟิลิปปินส์เป็นประธานการประชุม ประสบความสำเร็จ

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--

-พห-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
http://www.ryt9.com/s/mfa/734184

385/2553 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 43
July 22, 2010, 10:15 am

เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายเหวียน เติน สุง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอื่นๆ และเลขาธิการอาเซียน ก่อนพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และหลังจากนั้น จึงเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการและแบบ เต็มคณะ

ภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนโดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. ความเชื่อมโยงในภูมิภาค - ที่ประชุมยินดีต่อรายงานของการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยความเชื่อมโยง ในภูมิภาค และการร่างแผนแม่บทในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยคำนึงถึงโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และกรอบความร่วมมืออื่นๆ เพื่อการประสานงานที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน ซึ่งในขณะนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ แหล่งเงินทุน และความร่วมมือจากประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น และกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่า นอกจากประเด็นความเชื่อมโยงด้านต่างๆ เช่น การคมนาคม พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ควรคำนึงถึงประเด็นการอำนวยความสะดวกในการผ่านแดนของประชาชนและสินค้า ระหว่างประเทศในภูมิภาคด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการฯ ในการจัดให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเดินทางตามเส้นทาง R3E จากไทยผ่านลาวไปคุนหมิง

2. การให้ความช่วยเหลือพม่าจากเหตุการณ์ภัยพิบัติพายุไซโคลนนาร์กิส - ที่ประชุมรับทราบความสำเร็จของคณะทำงานด้านมนุษยธรรมของอาเซียนสำหรับผู้ ประสบภัยพิบัติพายุไซโคลนนาร์กิส ซึ่งภารกิจที่ได้รับมอบหมายร่วมกับ Tripatite Core Group จะสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าจะเริ่มเป็นผู้รับผิดชอบการประสานงานและการใช้ประโยชน์ความช่วย เหลือจากประชาคมระหว่างประเทศในเดือนสิงหาคม 2553 นอกจากนี้ จากการให้ความสำคัญกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกรณีภัยพิบัติธรรมชาติ ที่ประชุมเห็นชอบให้เร่งรัดจัดตั้งศูนย์การประสานงานอาเซียนสำหรับความช่วย เหลือทางมนุษยธรรมว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติในประเทศอินโดนีเซีย

3. โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในภูมิภาค - ที่ประชุมเห็นพ้องกับการเร่งรัดการรวมตัวเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและการ สร้างประชาคมอาเซียน พร้อมกับการขยายความสัมพันธ์ของอาเซียนกับภูมิภาคภายนอก โดยยังคงบทบาทอาเซียนในการเป็นแกนนำ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ประชุมยินดีกับการที่สหรัฐฯ และรัสเซียได้แสดงความสนใจเข้าร่วมในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) โดยมีอาเซียนยังคงบทบาทเป็นแกนหลักของเวทีความร่วมมือดังกล่าว ทั้งนี้ จะได้มีการหารือในเรื่องรูปแบบและช่วงเวลาในการดำเนินการต่อไป

4. TAC และความสัมพันธ์ของอาเซียนกับภูมิภาคภายนอก - ที่ ประชุมยินดีต่อการเข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ของแคนาดาและตุรกี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการเตรียมการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 2 การประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 2 การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย และการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 ในเดือนตุลาคม 2553 ที่กรุงฮานอย รวมถึงการการประชุมสุดยอดกับจีนและอินเดีย ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศดังกล่าวในปี 2555

5. การร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก - ที่ประชุมได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในอนาคต

6. พม่า - ที่ประชุมรับทราบถึงพัฒนาการและความคืบหน้าล่าสุดในการดำเนินการตามแผน ปรองดองแห่งชาติ รวมถึงการเตรียมการเลือกตั้งภายหลังการลงทะเบียนพรรคการเมืองเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้หยิบยกประเด็นการส่งคณะผู้แทนไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งในพม่า ด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้แสดงความหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นอิสระ โปร่งใสและทุกฝ่ายสามารถเข้าร่วมได้ ซึ่งจะนำพม่าสู่ประชาธิปไตยแบบหลายพรรคการเมือง


http://www.mfa.go.th/web/463.php?id=24882&lang=th




































03 Aug 10 นายเสริมศักดิ์ แนมใส หน.ศพช.ยะลา ร่วมต้อนรับ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท.1และคณะ ร่วมใจปกป้องสถาบันชาติ “เทิดทูนสถาบัน สมานฉันท์สามัคคี ปัตตานีมีสุข” (Header-
03 Aug 10 เชียงราย_การลงนามหนังสือยินยอมรับเงื่อนไข ว่าด้วยนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ กรมฯ ( AUP ) AUP.pdf
03 Aug 10 พัฒนาการจังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับรางวัลสตรีไทยดีเด่นประจำปี 2553
03 Aug 10 จังหวัดชุมพร จัดประชุมผู้ประกอบการ และคณะกรรมการเครื่อข่าย OTOP
03 Aug 10 พจ.ปัตตานี..ต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายถาวร เสนเนียม) เยี่ยมประชาชน 067 มท๓เปิดงานนาร้างปัตตานี.pdf
03 Aug 10 พจ.ปัตตานีรับ มท.1, อพช. เปิดงานมหกรรมฮาลาล 3 จชต.และงานปกป้องสถาบันฯ 066 มท.๑ เปิดงานสายบุรี.pdf
03 Aug 10 นายชยพล จิตรบรรจง รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู แถลงข่าวเทศกาล “เที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว" ๖-๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ chell.pdf
03 Aug 10 นายศุภกร มูลสุวรรณ พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู นำทีมงาน พช.หนองบัวลำภู ร่วมเปิดงานถนนแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นไทเลย และมหกรรม กทบ. เฉลิมพระเกียรติฯ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ ศาลากลางจังหวัดเลย otoploei.pdf
03 Aug 10 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเสด็จจังหวัดหนองบัวลำภู ณ วัดป่าภูหินกอง วัดศิริบุญธรรม และวัดหนองน้ำเพชรมงคล ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ king29-30.pdf
03 Aug 10 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯบ้านดอกบัว จ.พะเยา@@ชมวิดิทัศน์ >> http://www.phayaofocus.com/km_dokbua.htm dokbua

03 Aug 10 สพอ.เมืองยะลา ขอประมวลภาพกิจกรรม 1 พัฒนากร 1 กิจกรรมเด่น ต.ท่าสาป.pdf
03 Aug 10 " การ์ตูนสร้างสรรค์53 " Picture 013.jpgPicture 014.jpg
03 Aug 10 การประชุมคณะทำงานตรวจสอบกลั่นกรองในโครงการชุมชนพอเพียง ครั้งที่ ๓ ของจังหวัดหนองคาย
02 Aug 10 ผู้อำนวยการกองแผนงานติดตามความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ประจำปีงบประมาณ 2553 จังหวัดนราธิวาส ติดตามไทยเข้มแข็ง.doc

03 Aug 10 กจ. ชี้แจงการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพฯ วันที่ 3 ส.ค.53 เวลา 13.30 เชิญชมและฟังที่ ทีวี พ.ช. 100802162819100802162828
02 Aug 10 แนวทางปฏิบัติในการยืมเงิน การจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ไตรมาส 4 (กองคลัง) v1123.pdf
02 Aug 10 ขอเชิญชมรายการ "ทีวี พช." ประจำวันอังคารที่ 3 ส.ค.53 3ถ่ายทอดสด.doc
02 Aug 10 ขอเชิญดาวน์โหลด สปอตงาน "OTOP MID YEAR 2010" 100802103924
02 Aug 10 นายไสว โอภะตม อดีตนักวิชาการพัฒนาชุมชน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ถึงแก่กรรม นายไสว  โอภะตม ถึงแก่กรรม.doc
02 Aug 10 การประชุมมอบนโยบายและติดตามการดำเนินงาน พช. ภาคเหนือ ๖ ส.ค. ๕๓ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ 530802มอบนโยบายภาคเหนือ.pdf
02 Aug 10 การประชุมขับเคลื่อน ระเบียบวาระแห่งชุมชน ระยะที่ ๒ ภาคเหนือ ๖ ส.ค. ๕๓ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ 530802วาระแห่งชุมชน2ภาคเหนือ.pdf

03 Aug 10 กรมการพัฒนาชุมชน คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี2553 ก.ค 53 กรมการพัฒนาชุมชน คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี2553.pdf
03 Aug 10 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เพื่อทางเลือกการพัฒนาชนบทไทย ก.ค 53 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เพื่อทางเลือกการพัฒนาชนบทไทย.pdf
03 Aug 10 งานมหกรรมไหมสุรินทร์ สุดยอดไหมโลก 3 ส.ค 53 งานมหกรรมไหมสุรินทร์ สุยยอดไหมโลก.PDF3 ส.ค 53 งานมหกรรมไหมสุรินทร์.PDF
03 Aug 10 เชียงใหม่จัดตลาดนวัตกรรม - หมู่บ้านท่องเที่ยว 2 ส.ค 53 เชียงใหม่จัดตลาดนวัตกรรม-หมู่บ้านท่องเที่ยว.PDF
03 Aug 10 สพจ.แพร่ จัดประกวดโครงการเมืองแพร่ เมืองแห่งธรรมชาติบำบัด 3 ส.ค 53 ประกวดโครงการเมืองแห่งธรรมชาติบำบัด.PDF

www.cdd.go.th

No comments:

Fish