Wednesday 30 January 2013

Best logistic make one community...so quick..ASEAN Next economic corridors..the real of one market soon..

Best logistic make one community...so quick..ASEAN Next economic corridors..the real of one market soon..

GMS


http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/articles/detail.php?IBLOCK_ID=70&SECTION_ID=533&ELEMENT_ID=11600


3. การลงทุนและการค้า
          นับตั้งแต่ปี 1992 ปริมาณการค้าระหว่างยูนนานกับประเทศสมาชิก GMS ได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ก็ยังคงรักษาทิศทางการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ไว้ได้ต่อเนื่อง ในปี 2011 ปริมาณการค้าระหว่างยูนนานกับ 5 ประเทศสมาชิก GMS สูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าปี 2010 ร้อยละ 27 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของมณฑลยูนนาน เติบโตขึ้นจากปี 1992 ถึง 11.8 เท่า โดยมีค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 14 ต่อปี
          ตั้งแต่ปี 2002 จีนผลักดันการใช้ยุทธศาสตร์ “เดินออกไป” ส่งผลให้ธุรกิจยูนนานที่ไปลงทุนใน 5 ประเทศสมาชิก GMS มีจำนวนมากขึ้น จนกระทั่งเดือนธันวาคม ปี 2011 มียอดการลงทุนทั้งสิ้น 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ การเกษตร และทรัพยากรแร่ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน มณฑลยูนนานก็เป็นแหล่งลงทุนของธุรกิจจาก 5 ประเทศสมาชิก GMS เช่นกัน จนกระทั่งสิ้นปี 2011 มีธุรกิจจาก 5 ประเทศสมาชิก GMS ลงทุนในมณฑลยูนนานจำนวน 348 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.62 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคการผลิต การเกษตร พลังงานไฟฟ้า อสังหาฯ และร้านอาหาร เป็นต้น
4. ความร่วมมือด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว
          การร่วมมือด้านวนเกษตร: มณฑลยูนนานได้มีการทดลองเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ในเมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านไม้ดอกและพืชผักในย่างกุ้ง แปลงทดลองทางการเกษตรในประเทศต่างๆ เช่นเมียนมาร์ อุดมไซของลาว และเสียมราฐของกัมพูชา เป็นต้น ได้รับงบประมาณจากกระทรวงเกษตรของจีนในการดำเนินโครงการอบรมเทคโนโลยีตรวจสอบโรคในสัตว์ร่วมกับลาว และเมียนมาร์ ร่วมติดตั้งระบบเครือข่ายป้องกันไฟป่าในพื้นที่ชายแดนจีนกับเมียนมาร์ และลาว
          ทั้งมณฑลยูนนานมีผู้ประกอบการประมาณ 200 ราย ไปลงทุนด้านการเกษตรในภาคเหนือของเมียนมาร์ และลาว อาทิ การปลูกพืชทดแทนในพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นที่ปลูกฝิ่น การปลูกยางพารา อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และผลไม้เมืองร้อน รวมมีเนื้อที่กว่า 3 ล้านหมู่ (กว่า 1.25 ล้านไร่) คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1.6 พันล้านหยวน รวมทั้งอุตสาหกรรมการแปรรูปที่เกี่ยวข้องก็ได้รับการส่งเสริมด้วย
          การร่วมมือด้านการท่องเที่ยว: มณฑลยูนนานได้มีการกระชับความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก GMS มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ลงนามในสัญญาและ MOU ด้านการท่องเที่ยวกับเวียดนาม และลาว จำนวน 14 ฉบับ และยังได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ “เส้นทางการท่องเที่ยวนานาชาติสี่เหลี่ยมทองคำ” และ “เส้นทางการท่องเที่ยวนานาชาติแชงกรีล่า-เถิงชง-มิจินา(พม่า)” อีกทั้งรัฐบาลกลางจีนยังได้อนุมัติให้เปิดเส้นทางการท่องเที่ยวนานาชาติแม่น้ำโขง-แม่น้ำล้านช้าง จากต้นทางสิบสองปันนาไปยังหลวงพระบาง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้มณฑลยูนนานเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจีนสู่ประเทศสมาชิก GMS

“2012 - 2022” ทศวรรษที่ 3 อนาคตยูนนาน อนาคต GMS
ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา GMS ฉบับใหม่ (ปี 2012 - 2022) ซึ่งเป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2554 ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ กรอบยุทธศาสตร์ประจำทศวรรษที่ 3 ของ GMS เน้นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่
1. ผลักดันกระบวนการเกิดประชาคมอนุภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกัน
2. ออกนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน
บนเงื่อนไขความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน
3. ให้ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาค
ความร่วมมือ GMS จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความสำเร็จของยุทธศาสตร์หัวสะพานของมณฑลยูนนาน ที่จะสร้างให้มณฑลยูนนานเป็นประตูสำหรับประเทศจีนตอนใน เชื่อมต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยมีงานสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 8 ด้าน ดังนี้
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และโทรคมนาคมให้สมบูรณ์
มณฑลยูนนานให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการร่วมมือกับประเทศสมาชิก GMS ในการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม อาทิ เส้นทางหลวง เส้นทางรถไฟ การคมนาคมทางน้ำ การคมนาคมทางอากาศ ด่านชายแดน และความร่วมมือด้านโทรคมนาคมสารสนเทศ รวมไปถึงการสร้างเวทีสำหรับฝึกอบรม พัฒนาและแลกเปลี่ยนทรัพยากรบุคคล เพื่อเป้าหมายการยกระดับโครงข่ายโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคนี้
2. การอำนวยความสะดวกในการขนส่งและการค้า
ตาม “กรอบยุทธศาสตร์การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง” และ “ข้อตกลงการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง” มณฑลยูนนานจะเร่งดำเนินการอำนวยความสะดวกใน 5 ด้านที่มีผลการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศสมาชิก GMS ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร การตรวจสอบและกักกัน โลจิสติกส์ กระบวนการตรวจคนเข้าเมือง และเวทีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ลดอุปสรรคทางกฎหมาย ประสานกับเวียดนาม ลาว ไทย และเมียนมาร์ในการจัดการเรื่องการตรวจสอบและกักกัน พิธีการศุลกากร การออกใบอนุญาตและเอกสารรับรองต่างๆ ให้มีความเป็นระบบมากขึ้น
http://thai.cri.cn/247/2012/12/31/102s205668.htm
เส้นทางบกจากนครหนานหนิง-กรุงเทพที่มีระยะทางสั้นที่สุดในปัจจุบัน (R12เริ่มต้นเส้นทางจากนครหนานหนิง - เมืองท่าแขก ประเทศลาว - ด่านนครพนม - กรุงเทพฯ รวมระยะทาง 1,700 กว่ากิโลเมตร
          ตามที่ได้รับรายงาน พบว่า เงื่อนไข/ปัจจัยด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อมเท่าที่ควร อาทิ สภาพเส้นทางเป็นภูเขา คดเคี้ยว รับน้ำหนักได้ไม่มาก ฯลฯ นอกจากนี้ พบว่า ในหลักการ เส้นทางฯ ดังกล่าวไม่สามารถใช้ขนส่งผลไม้ไทยสู่ประเทศจีนได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในข้อตกลงฯ ระหว่างจีนกับไทย
          รายละเอียดเส้นทางเริ่มจากนครหนานหนิง 
ด่านโหย่วอี้กวาน เขตฯ กว่างซีจ้วง  ด่านลางเซิ่น (Lang Son กรุงฮานอย  อ.วินห์ (Vinh) จ.เงอาน (Nghe An) – ด่านจาลอ (Cha Lo) ประเทศเวียดนาม  ด่านนาพาว (Na Phao) - เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศลาว  ด่านพรมแดน จ. นครพนม  กรุงเทพฯ 

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว (แห่งที่ 1-3)
  2012-12-31 15:37:37  cri
จนถึงขณะนี้ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวทั้งหมดมี 4 แห่ง ซึ่งแห่งที่ 1-3 เปิดเดินรถมาหลายปีแล้ว ส่วนแห่งที่ 4 ก็จะสร้างแล้วงเสร็จในเดือนมิถุนายนปี 2013
สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
แหล่งข่าวแจ้งว่า สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อเทศบาลเมืองหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
สะพานแห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 4 เมษายนปี 1994 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย และนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว โดยตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร ทางเดิน 2 ช่องทาง และทางรถไฟกว้าง 1.000 เมตร 1 ราง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคมปี 1991ถึงเดือนเมษายนปี 1994
สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
ส่วนสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เป็นสะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทยเข้ากับแขวงสุวรรณเขดในประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2003 ถึงเดือนธันวาคมปี 2006 สะพานเปิดให้สาธารณะใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมปี 2006 ในระหว่างการขับรถมายังฝั่งไทย
สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน)
และสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย (นครพนม) กับประเทศลาว (คำม่วน) พื้นที่ฝั่งไทย ที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน
ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง และบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัดเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน สะพานจะแล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายนปี 2011 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน เมื่อสะพานแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 780 เมตร มีช่องลอดกว้าง 60 เมตร สูง 10 เมตร 2 ช่วง ความกว้างสะพาน 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ

http://vovworld.vn/th-TH/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1/570.vov

จังหวัด (Tỉnh- ติ่ง) Nghệ An (เหงะ อาน) (จังหวัดบ้านเกิด ท่าน โห่ จี๋ มิง)

มีเมือง Vinh (วิง) เป็นศูนย์กลางของจังหวัด


*ตั้งแต่เขตจังหวัด เหงะ อาน นี้ลงไปถึงเมือง เฮว้ จะเริ่มเป็นเขตภาษาถิ่นเวียดนามภาคกลาง ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านการออกเสียงวรรณยุกต์ และมีคำศัพท์ท้องถิ่นมาก อย่างไรก็ตาม คนในเขตนี้ส่วนใหญ่ถ้ามีโอกาสไปศึกษาหรือเดินทางไปในเขตเมืองบ่อยก็มักจะปรับสำเนียงให้ใกล้เคียงกับสำเนียงเวียดนามมาตรฐานทางเหนือไม่มากก็น้อย

ตัวอย่างคร่าว ๆ
คำว่า Chủ Nghĩa Xã hội
สำเนียงมาตรฐานฮานอยจะออกว่า (จู่ เหงีย สา โห่ย)
แต่สำเนียง เหงะ อาน จะออกเสียง จู่ เหงี่ย ส่า โห่ย

เป็นต้น

จาก: Viet Hoa
วันที่: 23/06/53 - 13:00 น.
IP Address: 124.157.135.xx
ความคิดเห็นที่ 7
ตย. ความแตกต่างระหว่างภาษาเวียดนามมาตรฐาน ฮานอย และ เวียดนามภาคกลาง


(ฮานอย) Đi đâu đấy ดี เดิว เด๋ย (ไปไหนนั่น)
(ถิ่นภาคกลางเวียดนาม) Đi mô rứa ดี โม เรื๋อ

ภาษาเวียดนามถิ่นกลาง ภาษาเวียดนามมาตรฐาน ฮานอย
mần (เหมิ่น) = làm (หล่าม = ทำ)
chi (จี) = gì (สี่ = อะไร)
đàng (ด่าง) = đường, đằng
cấy เกิ๋ย = cái 




สำหรับตัวเลขการนำเข้า และ ส่งออก ตั้งแต่ ตุลาคม 2554- กันยายน 2555 รวม 5,372,599 บาท 

แต่แม้ว่าการค้าขายชายแดนจะคึกคักขนาดไหน สิ่งที่บึงกาฬยังรออยู่ เปรียบเสมือนจิ๊กซอร์ตัวสุดท้าย คือ สะพานข้ามแม่น้ำโขง 

"เรารอสะพานข้ามแม่น้ำโขง เรามียุทธศาสตร์ คอนเนคติวิตี้ เชื่อมโยงระหว่างอาเซียน เราพยายามจะเชื่อมโยงกันให้มากที่สุด เพราะว่าตอนนี้หนองคายมีสะพาน นครพนมมีสะพาน สมมติว่าเราจะเอารถไปข้ามที่นครพนม วิ่ง 200 กิโลเมตร ย้อนมาอีก 250 กม. มันก็ไม่เวิร์กหรอกครับ หรือจะไปหนองคาย 140 กม. ข้ามไปเวียงจันแล้ววิ่งไปอีก 150 กม. มันก็ไม่สะดวก เขายังต้องข้ามทางนี้ ซึ่งบึงกาฬก็มีแนวอยู่แล้ว คือบ้านห้วยซึม ตรงกับบ้านกล้วยของปากซันเขา วันนั้นเจ้าแขวงเขาก็มาดูกัน เส้นทางตัวนี้เราขายไปถึงเวียดนาม เป็นเส้นทางสั้นที่สุด บึงกาฬจึงอยากจะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5"

หากมีสะพาน บึงกาฬ จะเป็นเส้นทางที่ 3 เพื่อเก็บตกการค้าเส้นทางหลัก 

นภดล อธิบายว่า ตอนนี้เส้นทางการค้าอีสานมีเส้นทางหลักอยู่ 2 เส้นทาง  เส้นทางที่ 1คือ อีสต์ เวสต์ คอริดอร์ จาก เว้ ดานัง เข้ามามุกดาหาร วิ่งมาตอนกลางเพื่อจะไปออกพม่า ญี่ปุ่นได้ประโยชน์มากที่สุด เส้นทางที่ 2 คือ เส้นทางนครพนมก็จะออกไปที่เมืองฮาติงห์ของเวียดนาม ก็จะเหนือจากเว้ ดานังขึ้นมานิดหนึ่ง ข้ามที่ท่าแขกนครพนม ทีนี้หากมีสะพาน บึงกาฬก็จะเป็นเส้นทางที่ 3 ซึ่งส่วนเส้นทางที่บึงกาฬจะใช้ คือ เส้นทางหมายเลข 8 ซึ่งจะอยู่เหนือกว่า 2 จังหวัดแรก 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1356526043&grpid=&catid=19&subcatid=1900


"เมื่อดูศักยภาพ โลเคชั่นของเรา ถ้าไปฮานอย เราจะใกล้กว่ามุกดาหารประมาณ กว่า 200 กิโลเมตร สั้นลง ถ้าออกจากนครพนมเขาจะไกลกว่าเราอีก 100 กว่ากม. ก็แสดงว่าโลเคชั่นเราอยู่เหนือสุด แล้วผลผ่านแดนเราใช้ผ่านแค่บอลิคำไซแขวงเดียว หมายเลข 8 คือ ผ่าน บอลิคำไซ แขวงเดียว แต่ถ้าจากนครพนมเขาต้องผ่านแขวงคำม่วน แล้ววิ่งตามหมายเลข 13 เลียบโขงมาเจอหมายเลข 8 ของเราแล้วเลี้ยวขวาเข้า 2 แขวง ส่วนมุกดาหารยึดหลักใหญ่อยู่แล้วจะขึ้นเหนือหรือลงใต้ก็ได้ แต่ว่าเราไม่มีส่วนของ อีสต์ เวสต์ คอริดอร์ เพราะว่าภูพานขวางเราอยู่ บึงกาฬจะวิ่งลงไปมันไม่คุ้ม แอ่งสกลนครมันเทมาอย่างนี้ เราก็จะเป็นการค้าที่เราเก็บตกเหนือใต้ มันเป็นแก๊ปที่ว่างอยู่ อิสต์ เวสต์ คอริดอร์ เขาตะวันออกตะวันตกใช่ไหม แต่เราอยู่ด้านเหนือเราจะเก็บตกนี้ เหมือนกับเขาเป็นกระแสหลัก เราจะเป็นกระแสรอง ซึ่งยังมีความสำคัญอยู่" 

"แม้ว่าขณะนี้เราจะมีแพขนานยนต์ แต่ให้เปรียบแพก็เหมือนคอขวด เหมือนเราไปเที่ยวเกาะสมุยต้องรอเฟอร์รี่ บางวัน รถจอดเป็นร้อยคัน เพื่อจะรอบรรทุกได้ทีละ 8 คัน เริ่ม 7 โมงเช้า ออกคันสุดท้าย บ่ายสามโมง ก็เลยดูว่า ถ้าตัวสะพานสำเร็จเมื่อไหร่ก็จะเป็นตัวเชื่อมโยงให้เราสามารถดูแลตลาดเราตรงนั้นได้"

สำหรับความคืบหน้าเรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมมีเจ้าภาพคือกระทรวงคมนาคม

>>ดูคลิป การส่งของข้ามแดน 



ทุกวันนี้การค้าขายแดน ด่านศุลกากรบึงกาฬดูแลจุดผ่อนปรนการค้าทั้งหมด 4 แห่ง และ แพขนานยนต์อีก 1 แห่ง ได้แก่ 

จุดผ่อนปรนอำเภอโพนพิสัย
ตั้งอยู่ที่ ตำบลจุมพล  อำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย ตรงข้ามบ้านโดนใต้ เมืองปากงึม นครหลวงเวียงจันทน์  ประเทศ สปป.ลาว เปิดทำการเฉพาะวันอังคารและวันเสาร์  ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น.  

จุดผ่อนปรนบ้านเปงจาน 
ตั้งอยู่ที่ ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ตรงข้ามบ้านทวย เมืองท่าพระบาท  แขวงบอลิคำไซ ประเทศ สปป.ลาว เปิดทำการเฉพาะวันพุธและวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.

จุดผ่อนปรนบ้านห้วยคาด 

ตั้งอยู่ที่ ตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ตรงข้ามบ้านทวย เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ ประเทศ สปป.ลาว เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น

จุดผ่อนปรนอำเภอบุ่งคล้า 
ตั้งอยู่ที่ อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ  ตรงข้ามบ้านปากกระดิ่ง เมืองปากกระดิ่ง แขวงบอลิคำไซ  ประเทศ สปป.ลาว เปิดทำการเฉพาะวันอังคารและศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 -16.30 น.
http://www.oknation.net/blog/akom/2010/02/12/entry-1
http://board.nakhonphanom.go.th/webboard/index.php?topic=106.0
http://www.watwatwitwit.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=318567

http://www.faqs.org/sec-filings/120126/Liquid-Financial-Engines-Inc_10-
K/#b

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330327920&grpid=no&catid=no

1. ผลักดันความร่วมมือทางด้านการค้า โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่งระหว่างเขตฯ กว่างซีจ้วง-เวียดนาม, ลาว-ไทย               
ปัจจุบัน มีเส้นทางการคมนาคมจากเขตฯ กว่างซี-เวียดนาม-ลาว-ไทยอยู่แล้ว การใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวสามารถประหยัดระยะเวลา และลดต้นทุนการขนส่งให้ต่ำลงได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นการยกระดับประสิทธิภาพด้านการขนส่ง การเดินทาง รวมถึงประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ แนวเส้นทางดังกล่าวมีแหล่งสินค้าเกษตรและแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ มีปัจจัยพร้อมสำหรับการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการค้า โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่ง อีกทั้งประเทศไทย ลาว และเวียดนามได้จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ที่นครหนานหนิง เขตฯ กว่างซี 
              
ดังนั้น จึงสามารถสร้างกลไกความร่วมมือในรูปแบบที่แตกต่างกันในการผลักดันระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ เช่น กลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กลไกความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ ครอบคลุมถึงกลไกความร่วมมือภาคการเกษตร การท่องเที่ยว โลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น กลายเป็นโครงข่ายการท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และการคมนาคมระหว่างเขตฯ กว่างซีจ้วง-เวียดนาม-ลาว-ไทย
          
2. ดำเนินนโยบาย/มาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง 
GMS บนระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ              
ประเทศตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ ล้วนเป็นสมาชิกของ 
GMS ปัจจุบัน การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศต่าง ๆ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกได้ดำเนินนโยบายการอำนวยความสะดวกในการผ่านด่านชายแดน การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างเวียดนาม ลาวและไทยเท่านั้น หากสามารถดึงประเทศจีน (เขตฯ กว่างซีจ้วง) เข้าร่วมดำเนินนโยบายฯ ดังกล่าวได้ การขนส่งพืชผักผลไม้จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเข้าสู่ประเทศจีนผ่านระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกสู่ด่านโหย่วอี้กวาน เขตฯ กว่างซีจ้วงจะได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก 
          
3.
 ปรับปรุงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ ให้มีความสะดวกรวดเร็วสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เร่งเชื่อมต่อเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 
              
เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและระบบโครงสร้างพื้นฐานของ 
เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ ยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ ดังนั้น การเร่งปรับปรุงเส้นทางฯ ดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด้วน
          
4. การสร้างโครงข่ายคมนาคม 
ทางเลือก ภายใต้แนวคิด ระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์              
ในงานประชุมและเวทีหารือกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ 5  (
5th Pan Beibu Gulf Economic Cooperation Forum, 
第五届泛北部湾经济合作论坛) ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2553 ณ นครหนานหนิง เขตฯ กว่างซีจ้วงที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการรถไฟแห่งชาติจีน (Ministry of Railways, 铁道部) ได้นำเสนอแนวคิด เส้นทางรถไฟนครหนานหนิง-สิงคโปร์ (Nanning-Singapore Railways) และกระทรวงการรถไฟจีนพร้อมสนับสนุนผลักดันการก่อสร้างเส้นทางรถไฟนครหนานหนิง-สิงคโปร์
             
แนวคิดฯ ดังกล่าว ถือว่ามีเค้าโครงอยู่แล้วเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบัน เขตฯ กว่างซีจ้วงและกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามมีทางรถไฟมาตรฐานเชื่อมถึงกันแล้ว ในปี 2551 จีนและเวียดนามได้บรรลุข้อตกลงการเจรจาในการประชุมทางรถไฟชายแดนจีน-เวียดนาม ครั้งที่ 32 พร้อมเปิดเดินรถไฟระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการจากนครหนานหนิง เขตฯ กว่างซี 
 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552
             
ดังนั้น การพัฒนาหรือสานต่อแนวความคิดฯ ดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ไม่มากก็น้อย โดยกระทรวงการรถไฟจีน กล่าวว่า การดำเนินงานก่อสร้างและเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1) ระยะใกล้ เปิดเส้นทางรถไฟนครหนานหนิง-อำเภอระดับเมืองผิงเสียง-กรุงฮานอย-กรุงพนมเปญ-กรุงเทพฯ-กรุงกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์
2) ระยะไกล เปิดเส้นทางรถไฟนครหนานหนิง-อำเภอระดับเมืองผิงเสียง-กรุงฮานอย-จ.แทงหวา (
Thanh Hoaเวียงจันทน์-กรุงเทพฯ-กรุงกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์


บีไอซีหนานหนิง เห็นว่า หากการผลักดันการพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ ให้ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว จะช่วยส่งเสริมพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่เลียบแนวเส้นทางฯ ดังกล่าวให้มีการเติบโตได้เป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 
สำเร็จร่วมกัน

จัดทำโดย
: นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/articles/detail.php?




 อีกทั้งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชียสาย AH15 ซึ่งเชื่อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย (อุดรธานี นครพนม สกลนคร) กับถนนหมายเลข 12 ของลาวที่แขวงคำม่วน ต่อไปยัง จ.ห่าติ๋งห์ และเมืองวิงห์ใน  จ.เหงะอาน รวมระยะทาง 331 กม.ซึ่งปัจจุบันเป็นเส้นทางหลักที่ถูกใช้สำหรับการขนส่งสินค้าจากไทยเข้าสู่ลาว เวียดนามตอนเหนือ และจีนตอนใต้ การเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ดังกล่าวจึงยิ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้เส้นทางนี้มากขึ้นต่อไป





www.cdd.go.th

No comments:

Fish