Monday 23 November 2009

Protect civil right or not????TRANSLUCENT DEMOCRATIC STYLE???






Maybe for next high potential about full good goverment of NO PRESSURE from political or economic style of government policy and budget plan or all benefit for people....ONLY FOR PEOPLE 'S BENEFIT?????
REAL WAY????

LOOK LIKE HARD LAW MUST RUN TOGETHER WITH HUMAN CAPITAL DEVELOPT//...YES OR NO?????
http://www.chulaonline.com/ocsc.asp
http://brd.ocsc.go.th/union/register_annonymus.php?sid=6
http://www.kpi.ac.th/kpith/
www.cdd.go.th

http://www.kpi.ac.th/kpith/index.php?option=com_virtuemart&page=shop.browse&category_id=7&Itemid=99&vmcchk=1&Itemid=99

หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย PDF พิมพ์ อีเมล์

หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางความขัดแย้งในด้านนโยบายสาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นที่ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วว่า ลำพังเพียงเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และพยายามหาวิธีแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการจัดทำโครงการ กิจกรรม หรือจัดสรรงบประมาณ และแม้ว่าจะมีการกำหนดกฎหมาย สถาบัน หรือหน่วยงานภายใต้ข้อบังคับของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่ว่าปัญหาความขัดแย้งยังคงปรากฏอยู่ทั่วไป
ปัญหาความขัดแย้งที่ปรากฏอยู่นั้น มิอาจนำไปสู่ข้อตกลงอย่างสร้างสรรค์ระหว่างคู่กรณีโดย เฝ้ารอการไกล่เกลี่ยของสถาบันหรือองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจในการไกล่เกลี่ย ข้อขัดแย้งได้ เนื่องจากความจริงที่ว่า แม้องค์กรและสถาบันเหล่านั้นจะทุ่มเทความพยายามอย่างมุ่งมั่นเพียงใด แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับข้อขัดแย้งจำนวนมากที่สลับซับซ้อน และเร่งเร้าให้รวบรัดเข้าสู่ข้อยุติได้ด้วยข้อจำกัดหลายประการด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ความขัดแย้งเรื่องการดำเนินการของบ่อขยะราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ แม้ว่าศาลปกครองได้มีคำสั่งให้หยุดการดำเนินการทิ้งขยะดังกล่าวเพื่อหา ทางออกที่ชัดเจนต่อไป แต่ยังไม่สามารถจะหาข้อยุติได้อย่างเหมาะสม
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นว่า หนทางสำคัญในการเอื้ออำนวยให้เกิดการแบ่งเบาภาระของสถาบันและองค์กรเหล่า นั้น คือ การส่งเสริมให้เกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งโดยสันติวิธีก่อน ระหว่าง และหลังการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสถาบันและองค์กรที่มีอยู่ โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคคลที่สาม ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ย หากสามารถดำเนินการสร้าง “นักเจรจาไกล่เกลี่ย” ให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ดำเนินการและหาข้อตกลงได้ภายในประชาคมระดับต่างๆ
การให้การศึกษาอบรม เป็นพันธกิจหนึ่งของสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จึงพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจและทักษะแก่นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยยึดหลัก “สันติวิธี” ในการจัดการความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเชิงบูรณาการในการดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ด้านนโยบายสาธารณะโดยสันติวิธี สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลคาดหวังว่า นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้ จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ดังต่อไปนี้
2.1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยสันติวิธี จนกระทั่งสามารถเชื่อมโยงแนวคิดที่จำเป็นสำหรับแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ เจรจาไกล่เกลี่ยได้อย่างถูกต้อง
2.2 มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการเตรียมการ การดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยจนกระทั่งสามารถเลือกใช้เครื่องมือระดมความคิด ตลอดจนเทคนิคการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนการเจรจาไกล่เกลี่ย ให้มุ่งไปสู่ทิศทางและข้อสรุปอันพึงปรารถนา
2.3 มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการจัดการกับอุปสรรคในการเจรจาไกล่เกลี่ย จนกระทั่งสามารถเลือกใช้แนวทางในการตอบสนองอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

เนื้อหาหลักสูตร

รายละเอียดวิชาของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 5 วิชา ดังนี้
1. ภาพรวมของกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งโดยสันติวิธี (18 ชั่วโมง)
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาไกล่เกลี่ย (18 ชั่วโมง)
3. การเตรียมตัวเพื่อการเจรจาไกล่เกลี่ย (18 ชั่วโมง)
4. การดำเนินกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย (18 ชั่วโมง)
5. การจัดการกับบุคคลและสถานการณ์ที่ยากต่อการไกล่เกลี่ย (12 ชั่วโมง)

วิธีดำเนินการศึกษา - สถานที่

รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยการบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายระดมความ คิดเห็น การนำเสนอกลุ่มย่อยและเน้นฝึกปฏิบัติจริงโดยการแสดงบทบาทสมมติ โดยมุ่งที่จะให้ผู้เข้ารับการศึกษา เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองและข้อมูลกับวิทยากร อย่างเชื่อมประสานกับเนื้อหาของแต่ละหัวข้อวิชา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้สูงสุด นอกจากนี้ ในทุกหัวข้อวิชา นักศึกษาต้องจัดทำกิจกรรมทางวิชาการ มีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติการเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างทั่วถึง โดยถือเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิทยากรจะใช้สำหรับการวัดและประเมินผลด้วย

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาในห้องเรียนประมาณไม่เกิน 5 เดือน เวลา 08.30-16.30 น. และฝึกเจรจาไกล่เกลี่ยอีก 3 เดือน โดยใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ทั้งสิ้น 138 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น
- การปฐมนิเทศ 18 ชั่วโมง
- การเรียนรู้ในชั้นเรียน 28 ครั้งๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมเป็น 84 ชั่วโมง
- การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ พื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้ง 18 ชั่วโมง
- นักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ทำงานกลุ่มนอกห้องเรียนหรือการทำงานร่วมในการเจรจา ไกล่เกลี่ยกรณีศึกษา
- การปัจฉิมนิเทศเพื่อนำเสนอรายงานวิชาการกลุ่ม 18 ชั่วโมง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา

ผู้สมัครเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่ 1 ของสำนักสันติวิธีฯ และมีคุณสมบัติ ณ วันสมัคร ดังต่อไปนี้
3.1 ข้าราชการในระดับ 5 ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือ
3.2 เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมหาชน หรือเป็นข้าราชการเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 5 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือ
3.3 นักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น หรือ
3.4 นักวิชาการและสื่อสารมวลชน หรือ
3.5 เป็นผู้นำขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้นำชุมชน หรือ
3.6 เป็นผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ
3.7 เป็นผู้บริหารขององค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการอันเป็นผลมาจากนโยบายสาธารณะหรือ
3.8 เป็นบุคคลซึ่งกรรมการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าเชิญให้เข้ามาศึกษา เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง และ
3.9 บุคคลข้างต้น ต้องเคยมีประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งของ สถาบันที่สำนักสันติวิธีฯ ซึ่งกรรมการคัดเลือกของสำนักสันติวิธีฯ เห็นว่ามีความเหมาะสม
3.10 เคยมีประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ซึ่งกรรมการคัดเลือกของสำนักสันติวิธีฯ เห็นว่ามีความเหมาะสม

หมายเหตุ : การคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษา ถือเป็นเอกสิทธิ์ของสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

จำนวนผู้เข้ารับการศึกษา

จำนวนนักศึกษา รุ่นละไม่เกิน 30 คน

เกณฑ์การจบการศึกษา

ผู้เข้ารับการศึกษาที่จะได้รับประกาศนียบัตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีเวลาเข้าเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. ได้รับการประเมิน “ผ่าน” ในทุกหัวข้อวิชาของหลักสูตร
3. ผ่านการประเมินผลขั้นสุดท้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
3.1 เสนอเอกสารส่วนบุคคล (Portfolio) หรือ
3.2 สอบปากเปล่า
3.3 การฝึกเจรจาไกล่เกลี่ยภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดให้
3.4 การปฏิบัติการเจรจาไกล่เกลี่ยภาคสนาม ตามที่ศูนย์สันติวิธีฯ กำหนดให้
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการศึกษา ต้องแสดงความสามารถให้เห็นว่า ได้เรียนรู้อะไรจากการศึกษาตามหลักสูตร
4. ไม่ดำเนินการใดๆ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันพระปกเกล้า

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมในการศึกษาตลอดหลักสูตร 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) รวมค่าอาหาร อาหารว่าง ค่าเอกสารและค่าเดินทาง อาหาร ที่พัก และสถานที่ดูงานในการศึกษาดูงาน (ในประเทศ) หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้

หลักฐานการสมัคร

- สำเนาบัตรข้าราชการ/บัตรประชาชน
- สำเนาวุฒิการศึกษา
- รูปถ่าย 2 นิ้ว 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

ติดต่อสอบถาม

**ผู้สนใจสมัครเข้ารับการศึกษาอบรมกรุณาส่งแบบฟอร์มใบสมัคร ไปที่
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
เลขที่ 47/101 หมู่ 4 อาคารศูนย์สัมมนา ชั้น 5
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ถ.ติวานนท์
ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2527-7830 – 9 ต่อ 2408, 2402, 2407
โทรสาร 0-2527-7819

ถัดไป >













บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ
พ.ศ. ....
หลักการ
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ
เหตุผล
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๔ ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพใน
การรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป โดยการรวมกลุ่มดังกล่าว
นั้นจะต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และความต่อเนื่องในการจัดทำ
บริการสาธารณะ ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๓
ได้บัญญัติถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งต้องไม่กระทบประสิทธิภาพใน
การบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุ
ประสงค์ทางการเมือง และกำหนดว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่ม ให้เป็นไป
ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้


สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและภาพกิจกรรมจากเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อกรอบของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ PDF พิมพ์ อีเมล์

Imageสรุป ผลการรับฟังความคิดเห็นและภาพกิจกรรมจากเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อกรอบของ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการรวมกลุ่มของข้าราชการพลเรือนสามัญ

ตามที่ สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักวิจัยและพัฒนา ได้รับมอบหมายจากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) ให้เป็นที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการจัดทำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการรวม กลุ่มของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรวมกลุ่มของข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งจะนำไปสู่การยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการรวมกลุ่มของข้าราชการพลเรือน สามัญ พ.ศ. .... นั้น

เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้มีส่วนร่วมในกระบวนการร่างกฎหมาย นี้อย่างทั่วถึง ทางโครงการฯ จึงได้จัดกิจกรรมในรูปแบบการเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการใน ภูมิภาคต่างๆ จำนวน 9 เวที ทั่วประเทศ และได้สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและประมวลภาพกิจกรรมไว้ดังนี้


งานส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ



โครงการ ศูนย์กิจกรรมร่วมรัฐสภา-ประชาสังคม เป็นโครงการที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำริให้จัดตั้งสำนักงาน รัฐสภาประจำจังหวัด เพื่อเป็นหน่วยงานสำหรับรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งด้าน นิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งหลัง



[ ย้อนกลับ]



ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศ เกี่ยวกับการบริหารกองทุน การงบประมาณและทรัพย์สิน

1. ข้อบังคับ
1.1 ข้อบังคับฯ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การเงิน การงบประมาณและทรัพย์สิน พ.ศ.2542
1.2 ข้อบังคับฯ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การเงิน การงบประมาณและทรัพย์สิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543

2. ระเบียบ
2.1 ระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2542
2.2 ระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากแหล่งทุนภายนอก
และการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2542

2.3 ระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากแหล่งทุนภายนอก
และการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2544 (ฉบับที่ 2)

2.4 ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ.2542
2.5 ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2542
2.6 ระเบียบฯ ว่าด้วยเบี้ยเลี้ยงสำหรับบุคคลภายนอก ที่ปฏิบัติงานให้สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2542
2.7 ระเบียบฯ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2542
2.8 ระเบียบฯ ว่าด้วยเงินชมรมเจ้าหน้าที่สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2543
2.9 ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าตอบแทนวิทยากร และค่าสมนาคุณเอกสารทางวิชาการ
สำหรับการประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2542

3. ประกาศ
3.1 ประกาศฯ เรื่องค่าตอบแทนและค่าสมนาคุณวิทยากร พ.ศ.2542
3.2 ประกาศฯ เรื่องค่าตอบแทน วิทยากร อาจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการบริหารหลักสูตร
ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร และค่าเอกสารประกอบคำบรรยาย พ.ศ.2544

3.3 ประกาศฯ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร กองทุน การเงิน การงบประมาณ และทรัพย์สิน

4. หลักเกณฑ์
4.1 หลักเกณฑ์ฯ ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน ค่ารักษาพยาบาล (กรณีทันตกรรม) พ.ศ.2543
4.2 หลักเกณฑ์ฯ ว่าด้วยการจ่ายเงินยืมพนักงาน พ.ศ.2543
4.3 หลักเกณฑ์ฯ ว่าด้วยการจ่ายเงินสดย่อย พ.ศ.2543
4.4 หลักเกณฑ์ฯ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงิน พ.ศ.2543
4.5 หลักเกณฑ์ฯ ว่าด้วยการจ่ายเงินสดย่อย พ.ศ.2543



Fish