Monday 25 April 2016

Workshop in Field..











Workshop in Field..








22 Apr 16 <<<สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี>>> ...โครงการกิจกรรม งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR เรื่อง การบริหารจัดการชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
            
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาดี โดย นายชัยณรงค์ รักษารัตน์ พัฒนาการอำเภอนาดี พร้อมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอนาดี และทีมวิจัย ร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ดำเนินโครงการกิจกรรม งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR เรื่อง การบริหารจัดการชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เก็บข้อมูลภาคสนาม (จัดเวที PAR) โดยมี ดร.ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง อาจารย์ประจำโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ที่ปรึกษางานวิจัย น.ส.อรวีย์ แสงทอง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก หัวหน้าทีมวิจัย และ น.ส.อานุช ฉายาภักดี นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ผู้ช่วยหัวหน้าทีมวิจัย ร่วมดำเนินโครงการวิจัย ณ บ้านวังมืด ม.5 ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี 




คำนำ





กลวิธีการพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถเต็มศักยภาพ ภายใน พ.ศ. 2563 ซึ่งนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 กำหนดไว้ก็คือ
  1. การเสริมสร้างพลัง (Empower) ให้คนสามารถคิด วิเคราะห์ เลือก ตัดสินใจและลงมือทำได้เอง
  2. สนับสนุนให้เขาทำได้สำเร็จ (Enabling) ด้วยเงินและศักยภาพของเขาเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำใหม่(New Paradigm) ซึ่งตรงกันข้ามจากการทำงานในยุคพัฒนา อย่างในอดีตซึ่งเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ร่วมกันคิดและทำให้ความรู้เฉพาะของตนเอง ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียไม่มีโอกาสได้ร่วมคิด คอยรับแต่คำสั่งวิธีทำและรับเงินส่วนน้อยไปปฏิบัติตาม การทำงานเช่นนี้ต้องมีเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ตามควบคุม งานและเงิน บนพื้นฐานของความไม่เชื่อความสามารถของประชาชน และสำคัญผิดว่าเงินงบประมาณคือเงินของเจ้าหน้าที่
ประชาชนไม่มีโอกาส คิดเอง ทำเอง ตามสถานการณ์รอบด้าน และศักยภาพของเขา งานจึงด้อยประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ยอมรับไปเป็นเรื่องของเขา
เจ้าหน้าที่แก้ปัญหาไปทีละเรื่อง โดยละเลยสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ด้วยความไม่รอบรู้องค์ประกอบอื่น ที่มีผลกระทบกันและกัน เพราะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริงและไม่เข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต
กระบวนการ A.I.C. (Apprication Influence Control) เป็นวิธีหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาแก้จุดอ่อนเหล่านี้ เพื่อสร้างคนให้มี 2E ซึ่งประเทศที่พัฒนาและธนาคารโลกใช้ได้ผลมากว่า 30 ปีแล้ว หากเจ้าหน้าที่และประชาชนมีความเข้าใจในกระบวนการ ร่วมกันคิดสร้างสรรค์ นำความรู้และประสบการณ์ของผู้มีส่วนได้เสียมารวมกัน มุ่งสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันตั้งแต่ต้น และช่วยกันรับงานไปรับผิดชอบตามศักยภาพและบทบาทของตน งานนั้นจะเป็นของทุกคน ไม่ซ้ำซ้อนและสำเร็จไปพร้อมกันทุกด้าน อย่างยั่งยืน
เอกสารนี้ได้เรียบเรียงจากบทบรรยาย เอกสารจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในการประชุมและการฝึกผู้ทำงานการพัฒนาคน เมื่อมีการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และกรณีศึกษาที่เคยใช้จริงของบางหน่วยงาน หากจะอ่านเพื่อรู้และจดจำเฉย ๆ จะเข้าใจยากและเปล่าประโยชน์ เพราะเป็นเรื่องปฏิบัติ ต้องลงมือทำเอง ดัดแปลงหลักการให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคล ทำไปเรียนรู้ไปเป็นประจำทุกครั้งที่จะทำโครงการพัฒนางานให้ประชาชน จะเป็นของง่ายทำได้ทุกระดับ
คนไทยจะเป็นคนพัฒนาเต็มศักยภาพทันยุคโลกาภิวัฒน์ได้ ก็อยู่ที่เราจะยอมทำโครงการ โดยออกแบบ กลวิธีดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมนี้ได้จริงเพียงใด

นายแพทย์วีระ นิยมวัน 





 
http://www1.nsdv.go.th/innovation/cippa.htm
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/13/entry-2
http://www.slideshare.net/prachyanun/r2-r2558-workshop2-59295509
http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=tamra_AICconference
www.cdd.go.th

No comments:

Fish