http://www.kellyocg.com/Knowledge/Infographics/Business_or_Pleasure_-_Social_Media_in_the_Workplace/
http://www.markstivers.com/wordpress/?p=382
http://www.personel.cdd.go.th/GroupJob/attra/happy_08022556.pdf
จากตารางที่ ๔.๓ แสดงผลระดับความผาสุกของสํานักงานพัฒนาชุมชนทุกจังหวัด พบว่ามี
สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดที่มีระดับความผาสุกสูงที่สุดเรียงลําดับ ๕ หน่วยงานแรกดังต่อไปนี้หน่วยงานที่มี
ระดับความผาสุกสูงที่สุดได้แก่สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์มีระดับความผาสุกร้อยละ ๙๒.๘๓
รองลงมาได้แก่สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น มีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๗.๗๗ อันดับที่สามได้แก่
สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมามีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๒.๘๘ อันดับที่สี่ได้แก่สํานักงานพัฒนา
ชุมชนจังหวัดพิจิตรมีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๑.๗๔ และอันดับที่ห้าได้แก่สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
อํานาจเจริญ มีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๑.๑๕
จากตารางที่ ๕.๔ ระดับความผาสุกของบุคลากรกรมฯจําแนกตามประเภทตําแหน่ง โดย
ประเภทตําแหน่งอํานวยการระดับต้น และอํานวยการระดับสูงมีระดับความผาสุกสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๘๕.๑๖
รองลงมาได้แก่ประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษตําแหน่งพัฒนาการอําเภอมีระดับความผาสุกร้อยละ
๘๒.๑๗ อันดับที่สามได้แก่ ประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษตําแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานปฏิบัติงานสํานักงาน
พัฒนาชุมชนจังหวัดมีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๑.๓๔ อันดับที่สี่ได้แก่ประเภทวิชาการระดับชํานาญการตําแหน่ง
พัฒนาการอําเภอมีระดับความผาสุก ร้อยละ ๗๙.๙๗ และประเภทตําแหน่งที่มีระดับความผาสุกน้อยที่สุดได้แก่
อันดับที่หนึ่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน มีระดับความผาสุกร้อยละ ๖๙.๖๓ รองลงมาได้แก่ประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการปฏิบัติงานสํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมีระดับความผาสุกร้อยละ ๖๙.๘๖ อันดับที่สามได้แก่
ประเภทวิชาการปฏิบัติการตําแหน่งพัฒนากรมีระดับความผาสุกร้อยละ ๗๐.๕๔ อันดับที่สี่ได้แก่ประเภททั่วไป
ระดับปฏิบัติงาน มีระดับความผาสุกร้อยละ ๗๒.๓๔
จากตารางที่ ๔.๕ ระดับความผาสุกของบุคลากรในระดับภาพรวมกรมฯจําแนกตามรายปัจจัย
ที่มีผลต่อความผาสุก พบว่าบุคลากรมีระดับความผาสุกในปัจจัยด้านความสัมพันธ์เกื้อกูลมากที่สุดมีระดับความ
ผาสุกร้อยละ ๙๑.๒๘ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศในการทํางาน มีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๗.๑๓
อันดับที่สามได้แก่ปัจจัยด้านการพัฒนาสมรรถนะมีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๕.๙๓ และอันดับที่สี่ได้แก่ปัจจัยด้าน
สภาพแวดล้อมในการทํางาน มีระดับความผาสุกร้อยละ ๘๒.๔๘ ขณะที่ปัจจัยที่บุคลากรมีระดับความผาสุกน้อย
ที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านสมดุลเวลางานและครอบครัวมีระดับความผาสุกร้อยละ ๕๓.๑๐ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้าน
ลักษณะงาน มีระดับความผาสุกร้อยละ ๕๘.๘๗ และอันดับที่สามปัจจัยด้านเงินเดือนและสวัสดิการ มีระดับความ
ผาสุกร้อยละ ๖๘.๕๙
จากตารางที่ ๔.๗ ประเภทตําแหน่งที่มีระดับความผาสุกมากที่สุดในแต่ละปัจจัยได้แก่ ประเภท
อํานวยการระดับ ต้น - สูง มีระดับความผาสุกมากที่สุดใน ๗ ปัจจัยจาก ๑๑ ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยสุขภาพจิตใจ
ปัจจัยความสัมพันธ์เกื้อกูล ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะ ปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยเงินเดือนและสวัสดิการ ปัจจัย
สภาพแวดล้อมในการทํางาน และปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรส่วนประเภทตําแหน่งที่มีระดับความผาสุกน้อยที่สุด
ในแต่ละปัจจัยได้แก่ ประเภททั่วไปปฏิบัติงาน มีระดับความผาสุกน้อยที่สุดใน ๕ ปัจจัยจาก ๑๑ ปัจจัยได้แก่
ปัจจัยสุขภาพจิตใจ ปัจจัยเงินเดือนและสวัสดิการ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร
และปัจจัยธรรมาภิบาล รองลงมาได้แก่ ประเภทวิชาการปฏิบัติการ (ปฏิบัติงาน ส.พ.จ.) มีระดับความผาสุกน้อย
ที่สุดใน ๓ ปัจจัยจาก ๑๑ ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยบรรยากาศในการทํางาน ปัจจัยลักษณะงาน และปัจจัยสมดุลเวลา
งานและครอบครัว
จากตารางที่ ๕.๙ พบว่าค่า Sig ทุกค่ามีค่าน้อยกว่า ๐.๐๕ หมายความว่าประเภทตําแหน่งที่
แตกต่างกัน (อํานวยการระดับต้น – สูง, นักวิชาการพัฒนาชุมชนระดับชํานาญการพิเศษ, นักวิชาการพัฒนาชุมชน
ระดับชํานาญการ,นักวิชาการพัฒนาชุมชนระดับปฏิบัติการ, ประเภททั่วไปชํานาญงาน, ประเภททั่วไปปฏิบัติงาน)
มีความผาสุกในแต่ละปัจจัยแตกต่างกันทุกปัจจัย (ปัจจัยลักษณะงาน, ปัจจัยบรรยากาศในการทํางาน, ปัจจัย
สภาพแวดล้อมในการทํางาน, ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะ, ปัจจัยสมดุลเวลางานและครอบครัว, ปัจจัยเงินเดือน
และสวัสดการ ิ , ปัจจัยคุณธรรมและธรรมมาภิบาล, ปัจจัยสุขภาพร่างกายแข็งแรง)
จากตารางที่ ๕.๑๐ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับความผาสุกของบุคลากรกรมฯกับปัจจัยที่
มีผล ต่อความผาสุกเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดโดยลําดับความสัมพันธ์ที่มากที่สุดได้แก่ความสัมพันธ์
ระหว่างระดับความผาสุกของบุคลากรกรมฯกับปัจจัยลักษณะงาน มีค่าความสัมพันธ์ .๖๔๗ มีความสัมพันธ์กันสูง
รองลงมาได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความผาสุกของบุคลากรกรมฯกับปัจจัยบรรยากาศในการทํางาน มีค่า
ความสัมพันธ์ .๖๒๖ มีความสัมพันธ์กันสูงอันดับสามได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความผาสุกของบุคลากร
กรมฯกับปัจจัยธรรมาภิบาลมีค่าความสัมพันธ์ .๖๑๖ มีความสัมพันธ์กันสูงและลําดับความสัมพันธ์ที่น้อยที่สุด
ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความผาสุกของบุคลากรกรมฯกับปัจจัยสมดุลเวลางานและครอบครัวมีค่า
ความสัมพันธ์ .๕๐๑ มีความสัมพันธ์ปานกลาง
www.cdd.go.th
No comments:
Post a Comment