Wednesday, 3 August 2011

Report.report .. transfer into no Poverty left policy..wowww...


Nearly..real effect and refection...look like..but it is still be big challenge ..if we always have POVERTY PEOPLE in plan ..only for ask budget..but..if we plan to DELETE target of poverty from map of some countries and others undeveloped countries will takwe or get incentive instead of budget or salary or cost..maybe world got only rich..rich..rich...people???

(ร่าง)ข้อเสนอแนะ การประชุม เมื่อสองปีที่แล้ว เริ่มมีเค้ารางของความเป็นจริงแล้ว ดีใจจัง

เรื่องเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงมหาดไทยหรือเงินนอกงบประมาณอื่นๆ ในเรื่องการฝึกอบรมและการรับทุนเพื่อฝึกภาษาอังกฤษ หรือการจัดประชุมในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ และการใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนโครงการจากสถาบันเทววงศ์ปกรณ์ หรือโดยเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ในปี๒๕๕๓ เนื่องจากในโครงการตามกรอบความร่วมมือมีการประชุม ปฎิบัติการ และศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ เรื่องนี้ทางกลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์และบุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ หรือผู้บริหารระดับสูง หรือบุคคลกรที่ต้องมีหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักที่ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี สามารถเป็นผู้ดำเนินการการประชุมนานาชาติได้ ตามเป้าหมาย กรอบความร่วมมือ บุคคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนต้องได้รับการจัดฝึกอบรมแบบเต็มรูปแบบโดยอาศัยต้นแบบโครงการเดิมที่ดำเนินการโดยสถาบันเทววงศ์ปกรณ์ และสถาบันฝึกอบรมการพัฒนาชุมชน มาจัดการฝึกอบรมแบบเป็นการภายในหรือให้ได้อบรมจากสถาบันภายนอกโดยต้นสังกัดให้เบิกจ่ายได้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลากรของกรม โดยทั่วถึง และเป็นการบังคับ ไม่เลือกปฎิบัติ เพื่อให้ข้าราชการของกรมการพัฒนาชุมชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีโอกาศได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานการต่างประเทศได้ทั่วถึงกัน สะดวกต่อการทำงานด้านการต่างประเทศในและนอกประเทศ โดยไม่จำกัด

เฉพาะข้าราชการในส่วนวิเทศสัมพันธ์เท่านั้น และควรมีหลักสูตรด้านการประชุมและเจรจาระหว่างประเทศให้แก่ผู้บริหารในระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปด้วย เนื่องจากในโอกาศที่ปีงบประมาณต่อไปประเทศไทยและกระทรวงมหาดไทยต้องรับภาระเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความยากจน จำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่มีความสามารถทั้งประสบการณ์และงานวิชาการที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของภูมิภาค ในจังหวัดนำร่องชายแดนหรือในจังหวัดที่มีโครงการที่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวไทยเทียบระดับมาตรฐานสากล หรือเน้นสังคมวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพ ความเข้มแข็งของ ผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมถึงวิสาหกิจชุมชนจากการท่องเที่ยว เป็นต้น

๓.๒ การบูรณาการงานด้านการต่างประเทศร่วมกับกรมอื่นๆและหน่วยงานอื่น เช่นการศึกษาดูงาน การประชุมเจรจาระหว่างประเทศ ควรมีการปรึกษาและอาศัยข้อมูลหรือบุคคลากรร่วมกันโดยมีการจัดการโครงการที่ร่วมกันแต่เริ่มแรก เพื่อสามารถระดมสมองมาใช้ร่วมกัน รวมไปถึงการนำองค์ความรู้ของบุคคลากรและค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม เพื่อสามารถผลิตผลงานที่เป็นรูปธรรมที่เกิดจากการทำงานเริ่มกันแต่เริ่มโครงการร่วมกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้านความเข้มแข็งและวิสาหกิจชุมชนและการพัฒนาทุน ให้แก่บุคคลากร ไม่เพียงให้เฉพาะผู้ที่ทำงานในส่วนของนโยบายเช่นส่วนของสำนักปลัดกระทรวงเท่านั้น ควรให้ผู้บริหารหรือพัฒนากรในพื้นที่ได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะในประเทศที่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยากจนได้อย่างประสบความสำเร็จด้วย เช่นยุโรป สหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่นเป็นต้น เพราะฝ่ายปฎิบัติการในพื้นที่เป้าหมายควรได้รับการส่งเสริมให้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล โดยน่าจะจัดให้เดินทางร่วมไปกับกลุ่มของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นหรือกรมที่ดิน หรือกรมโยธาธิการ หรือกรมป้องกันสาธารณภัย เพราะวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนจะต้องบูรณาการในส่วนของการมีส่วนร่วมของชุมชนและต้องเน้นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น จึงจำต้องทำงานควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในส่วนของการพัฒนาคน เพื่อให้สร้างความตระหนักในการดูแลรักษาให้คงไว้ซึ่งความสำคัญของการสรางอำนาจต่อรองของการรวมกลุ่ม ทั้งกลุ่มอาชีพ สตรี เยาวชน ทุนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ การใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมไปถึงการร่วมกันดูแลสมบัติสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน ด้วย เช่นคลอง ถนน อาคาร สถานที่สมบัติส่วนรวมต่างๆ ไม่ใช่ว่าผู้เป็นข้าราชการเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในส่วนของกระทรวงมหาดไทยเอง ยังไม่มีความตระหนัก ความรู้ ในการดูแลชุมชนทั้งจิตใจผู้คน วัฒนธรรมสังคม และยังไม่สามารถชักนำให้ผู้คนในชุมชนได้ตระหนักในการมีจิตสาธารณะช่วยกันดูแลรักษาป้องกันทรัพย์สมบัติส่วนรวม และคอยป้องกันไม่ให้ชุมชนของตนต้องเสียหาย เสียประโยชน์ จากภัยต่างๆ ทั้งภัยจากภัยพิบัติธรรมชาติและภัยมลพิษเกิดกับสิ่งแวดล้อมจากที่มนุษย์ก่อขึ้น ไม่เคยได้รับโอกาสให้ได้เห็น สัมผัส สิ่งที่เป็นต้นแบบแบบอย่างที่ดีถูกต้องทั้งในการบริหารจัดการที่ดี หรือการพัฒนา ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การปกครองท้องถิ่นที่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือตระหนัก และปฎิบัติในพื้นที่ได้ หากได้แต่ส่งบุคคลากรในส่วนกลางหรือส่วนนโยบายไปมากมายแต่ส่วนที่ต้องปฎิบัติการกลับไม่มีโอกาศศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเลย ดังนั้นพัฒนาการอำเภอหรือพัฒนากรในระดับอำเภอและตำบลต้องได้รับโอกาศนี้เป็นจำนวนมากกว่าบุคคลากรที่อยู่ในระดับนโยบายแต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ตามที่ตัวแทนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและกระทรวงการต่างประเทศ พยายามเน้นให้มีความตระหนัก

๒.๔ สรุปผลการประชุม

๒.๔.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการพัฒนาการเข้าถึงบริการของภาครัฐในประเทศไทย (A Decade of Decentlrlation and The Improvement of Social Service Delivery in Local Government in Thailand ) โดยเสวนากลุ่มย่อย,ผู้สะท้อนประเด็น และการหารือเพื่อปรับปรุงนโยบาย ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะให้ หน่วยงานภาครัฐในส่วนกลางมีการขับเคลื่อนนโยบายถ่ายโอนอำนาจลงไปสู่การบริหารปกครองท้องถิ่น ให้ครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การบริหารจัดการ และบุคคลากรที่ต้องการถ่ายโอนลงไปจากส่วนกลาง โดยไม่จำเป็นต้องกระทำการฉับพลันเกินไปอย่างประเทศอินโดนีเซียที่ถ่ายโอนบุคคลากรจากภาครัฐจำนวนมากลงไปในพื้นที่ในคราวเดียวกัน ขอให้ภาครัฐมีการกำกับดูแลที่ดี มีคุณภาพที่แม่นยำ ระบบการติดตามตรวจสอบของภาครัฐ ต้องมีศักยภาพสูงพอที่จะติดตามการทำงานของภาคท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทศวรรษแรกของการเริ่มใช้กฏหมายเพื่อการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ในประเทศไทยกำลังจะผ่านพ้นไปในปี ๒๕๕๔ นี้ การกระจายอำนาจในท้องถิ่นโดยภาพรวมจากการมองของทุกหน่วยงานเห็นว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการสะท้อนออกมาว่าจำนวนตัวชี้วัดทุกด้าน ไม่ว่า โรงเรียน สถานีอนามัย อัตราการตายของแม่และเด็กและเป้าหมายของ MDGs ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย โดยพบว่าส่วนปกครองท้องถิ่นยังคงบริหารจัดการงบประมาณที่ได้โดยบริหารเพียงงบประมาณที่ส่วนกลางจัดสรรลงไปเท่านั้น แต่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้จากภาษีหรือรายได้อื่นที่พึงได้รับจากท้องถิ่น เพราะประเด็นท้าทายที่สำคัญคือศักยภาพ และความสามารถของส่วนท้องถิ่นยังมีความแตกต่างกันสูง สิ่งสำคัญคือภาครัฐส่วนกลางต้องสร้างแรงจูงใจให้ส่วนท้องถิ่นกระตือรือร้นในการหารายได้ด้วยตนเอง เช่นรายได้จากกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ การท่องเที่ยวในท้องถิ่น เป็นต้น

ในส่วนขององค์การสหประชาชาติได้กล่าวถึงผลงานที่ได้ร่วมบริหารจัดการในภูมิภาคต่างๆของโลกที่ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่นการบริหารจัดการ น้ำ การสุขาภิบาลต่างๆ ในประเทศเนปาล ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา เป็นต้น โดยเน้นให้มีการจัดการน้ำให้มีน้ำปะปาที่ดื่มบริโภคได้จริง

กลุ่ม ๑ สวัสดิการสังคม/การปกป้องเยาวชน/กลุ่มเสี่ยง

กลุ่ม ๒ บทบาททางเพศ

กลุ่ม ๓ การศึกษา

กลุ่ม ๔ สุขภาพ

๓. ข้อเสนอแนะ

๓.๑ เรื่องเกี่ยวกับปัญหาความรับผิดและชอบ ( Accoutability ) เป็นปัญหาที่มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันมากในหลายกลุ่มการเสวนาซึ่งเห็นว่า เรื่องสวัสดิการสังคม/การปกป้องเยาวชน/กลุ่มเสี่ยง ในการกระจายอำนาจจากภาครัฐส่วนกลาง ลงสู่ท้องถิ่น เช่นงานของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกี่ยวกับเบี้ยยังชีพสวัสดิการคนชราผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชนควรได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคคลที่มีโอกาศติดสารเสพติดต้องมีกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากปกครองส่วนท้องถิ่นได้โดยที่ไม่นำเงินงบประมาณของส่วนกลางไปใช้หมุนเวียนในกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ และสิ่งที่กรมการพัฒนาชุมชนต้องเข้าไปร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการการถ่ายโอนกิจกรรมต่างๆ เช้นสตรี เด็กที่ทางส่วนของการพัฒนาสังคม ส่งต่อลงไปในส่วนท้องถิ่น นอกจากการได้รับการสงเคราะห์และช่วยเหลือด้านสวัสดิการโดยการพัฒนาสังคมแล้ว การที่มีการทำแผนชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน สตรี และ กลุ่มเยาวชน ยังเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญที่ พัฒนากรและผู้บริหารของกรมการพัฒนาชุมชนต้องเป็นพี่เลี้ยงและจัดฝึกอบรมให้ แก่ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือรวมไปถึงพัฒนากร ในส่วนของปกครองท้องถิ่น ด้วยให้มีความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาทุนชุมชน รวมไปถึงการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้.ให้เกิดประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว หรือการพัฒนาให้เกิดรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง

ส่วนเรื่องบทบาททางเพศนั้น ในสังคมไทยการกระจายความรับผิดชอบและการถ่ายโอนอำนาจลงสู่กลุ่มสตรีหรือผู้นำสตรี ในระดับท้องถิ่นมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นแต่ก็ยังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว บทบาทของสตรีที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารท้องถิ่น มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้นำอย่างเป็นทางการในท้องถิ่น ดังนั้นในงานของพัฒนากรหรือกรมการพัฒนาชุมชนในการช่วยเสริมบทบาทของสตรีในชนบทเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นจูงใจให้ผู้นำสตรีในชนบทมีการรวมตัว กันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในผลประโยชน์ ของชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีได้อย่างแท้จริง เช่นเรื่องการแบ่งเวลาในครอบครัวมาทำงานการเมืองท้องถิ่น งานกลุ่มอาชีพ การประชุมสัมมนา การอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้แก่สตรีเป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้พัฒนากรและนักวิชาการของกรมฯ ต้องช่วยให้ครอบครัวของผู้นำสตรี เช่นสามีและบุตร ญาติ ได้มีความตระหนักและมีความเข้าใจในการใช้เวลาและการบริหารเวลาของผู้นำสตรี หรือบทบาทสตรีและสามารถลดความวิตกกังวลลดภาระ ในครอบครัวรวมทั้งช่วยสนับสนุนให้ผู้นำสตรีได้ปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วย

ส่วนด้านการศึกษาและสาธารณสุขนั้น งานส่วนใหญ่เป็นงานของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องถ่ายโอนอำนาจโดยตรง แต่พัฒนากรในพื้นที่ต้องสนับสนุนงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการที่สามารถประสาน ความช่วยเหลือ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสานประโยชน์ต่อบุคคลากรและทรัพยากรของรัฐ เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย ครู หมอ พยาบาล และบุคคลากรอื่นๆ ได้ร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชนได้แต่รวดเร็ว หากมีการทำแผนชุมชนหรือแผนการแก้ปัญหาต่างๆภายในหมู่บ้านชุมชน ให้ได้ร่วมกันแก้ปัญหาแต่เริ่มแรก ร่วมกัน

๒.๔ สรุปผลการประชุม

๒.๔.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการแก้ไขปัญหาความยากจนกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่องกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดความยากจนกับบทบาทของกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยได้มีการบูรณษการด้านข้อมูลและดำเนินการร่วมกันในกิจกรรมหรือการประชุมร่วมต่างๆ เพื่อให้คณะทำงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน กระทรวงมหาดไทย ตามคำสั่ง ที่ ๖๐๓/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ได้ขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลปฎิบัติการได้อย่างรวดเร็วและบรรลุผลทันทีตามเป้าหมายของรัฐบาลและกรอบความร่วมือระดับประเทศต่างๆ

๒.๔.๒ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฎิบัติงานด้านการลดความยากจนภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ สามารถนำไปสู่การพัฒนาการทำงานด้านการต่างประเทศของกระทรวงมหาดไทยในภาพรวม เช่นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นของคนต่างด้าวตามชายแดน ละการดำเนินการเกี่ยวกับร่องน้ำหรือเขตแดน หรือ การแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันตามกรอบและความมุ่งหมายของความร่วมมือด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนของอาเซียน ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาชนบทเพื่อให้ประชาชนพีงพาตนเองได้ รวมทั้งบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดและการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายโดยUNDP หรือ MDGs ย่อมต้องอาศัยการร่วมมือกันในส่วนภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ โดยวิธีการที่นายสมชาย วิทย์ดำรง ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนได้บรรยายสรุปวิธีการเน้นการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชน โดยมีจังหวัดต้นแบบที่ดำเนินกิจกรรมด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่มุ่งบูรณาการทั้งจังหวัด รวมทั้งกิจกรรมที่ UNDP ได้เสนอแนวคิดและสนับสนุนกิจกรรมนำร่องในการแก้ไขปัญหาความยากจน ในบางตำบล หมู่บ้าน ในหลายจังหวัด ของประเทศ โดยคาดหวังว่า การบูรณาการทั้งจากหน่วยงานขององค์การระหว่างประเทศและแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ จะสามารถนำแนวคิดมาส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ในปีงบประมาณต่อไปหรือในอนาคต

๒.๔. ภารกิจหลักของการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศด้านการพัฒนาชนบทและแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาค เช่นESCAP , BIMSTEC เป็นต้น โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลด้านการลดความยากจนและการพัฒนาชนบท ทุกครั้งและนำข้อมูลที่ได้วางนโยบายและปฎิบัติการจริงในพื้นที่มาปรับใช้กับงานเสริมสร้างความเข้มแข็ง เกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังมวลชนโดยผ่านการเสริมศักยภาพของผู้นำชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งผู้นำในชุมชนที่พัฒนาการจังหวัดและพัฒนากรในพื้นที่ ต้องสร้างกิจกรรมเพิ่มความสามารถในการบริหารทุนหรือวิสาหกิจชุมชน จากการใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมชุมชน ผ่านการบริหารจัดการท้องถิ่นโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั่วประเทศ ซึ่งผู้นำในพื้นที่ที่รับการพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ดังนั้นการบูรณาการข้อมูลระหว่างหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยกระทรวงมหาดไทย สมควรที่จะบรรลุเป้าหมายของกรอบความร่วมือระหว่างประเทศต่างๆได้จริง

๒.๔. การที่ผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประสานมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานประสานงานหลักของไทยภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน และแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASCC Blueprint ) โดยผู้แทนกระทรวงได้สรุปเกี่ยวกับภารกิจ หน้าที่ และความสำคัญเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมและต้องนำผลการประชุมมาปฎิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง เนื่องจากการประชุมหรือจัดการประชุมในกลุ่มประเทศตามกรอบความร่วมมืออาเซี่ยนดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเทศยากจน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหรือเดินทางไปประชุมเป็นส่วนที่ต้องใช้งบประมาณของประเทศจำนวนมาก ผู้แทนของกระทรวงจึงขอให้การเตรียมบุคคลากรในแต่ละหน่วยราชการของกระทรวงมหาดไทยให้เป็นบุคคลากรที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องใช้งานและจำเป็นต่อการไปร่วมประชุมทุกครั้ง โดยข้อคิดเห็นและเสนอแนะเหล่านี้สอดคล้องกับ นายอิศร ปกมนตรี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีความเห็นว่าการจัดประชุมในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ และการใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ มีผลต่อการการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของประเทศมาก จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะเจ้าภาพหลักโดยหน่วยงานประสานงานหลักของไทยภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน และแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASCC Blueprint ) ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และสามารถคัดเลือกผู้แทน ไปประชุมให้เหมาะสม และประหยัด อีกทั้งหากต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือดังกล่าวในประเทศไทย ทางกระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินและเตรียมการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๒.๕ การเดินทางไปศึกษาดูงาน โครงการปรับภูมิทัศน์ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และบรรยายสรุปแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาตลาดน้ำอัมพวา และนำผู้เข้าอบรมศึกษาดูงานโครงการฯ โดย นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา โดยจากการบรรยายสรุปและการศึกษาดูงานโครงการนี้ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับรางวัล World Heritage Award จาก UNESCO โดยได้รับการชมเชยว่าเป็นโครงการที่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวไทยเทียบระดับมาตรฐานสากล

๓. ข้อเสนอแนะ

๓.๑ เรื่องเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงมหาดไทยหรือเงินนอกงบประมาณอื่นๆ ในเรื่องการฝึกอบรมและการรับทุนเพื่อฝึกภาษาอังกฤษ หรือการจัดประชุมในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ และการใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนโครงการจากสถาบันเทววงศ์ปกรณ์ หรือโดยเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ในปี๒๕๕๓ เนื่องจากในโครงการตามกรอบความร่วมมือมีการประชุม ปฎิบัติการ และศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ เรื่องนี้ทางกลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์และบุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ หรือผู้บริหารระดับสูง หรือบุคคลกรที่ต้องมีหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักที่ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี สามารถเป็นผู้ดำเนินการการประชุมนานาชาติได้ ตามเป้าหมาย กรอบความร่วมมือ บุคคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนต้องได้รับการจัดฝึกอบรมแบบเต็มรูปแบบโดยอาศัยต้นแบบโครงการเดิมที่ดำเนินการโดยสถาบันเทววงศ์ปกรณ์ และสถาบันฝึกอบรมการพัฒนาชุมชน มาจัดการฝึกอบรมแบบเป็นการภายในหรือให้ได้อบรมจากสถาบันภายนอกโดยต้นสังกัดให้เบิกจ่ายได้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลากรของกรม โดยทั่วถึง และเป็นการบังคับ ไม่เลือกปฎิบัติ เพื่อให้ข้าราชการของกรมการพัฒนาชุมชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีโอกาศได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานการต่างประเทศได้ทั่วถึงกัน สะดวกต่อการทำงานด้านการต่างประเทศในและนอกประเทศ โดยไม่จำกัด

เฉพาะข้าราชการในส่วนวิเทศสัมพันธ์เท่านั้น และควรมีหลักสูตรด้านการประชุมและเจรจาระหว่างประเทศให้แก่ผู้บริหารในระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปด้วย เนื่องจากในโอกาศที่ปีงบประมาณต่อไปประเทศไทยและกระทรวงมหาดไทยต้องรับภาระเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความยากจน จำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่มีความสามารถทั้งประสบการณ์และงานวิชาการที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของภูมิภาค ในจังหวัดนำร่องชายแดนหรือในจังหวัดที่มีโครงการที่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวไทยเทียบระดับมาตรฐานสากล หรือเน้นสังคมวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพ ความเข้มแข็งของ ผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมถึงวิสาหกิจชุมชนจากการท่องเที่ยว เป็นต้น

๓.๒ การบูรณาการงานด้านการต่างประเทศร่วมกับกรมอื่นๆและหน่วยงานอื่น เช่นการศึกษาดูงาน การประชุมเจรจาระหว่างประเทศ ควรมีการปรึกษาและอาศัยข้อมูลหรือบุคคลากรร่วมกันโดยมีการจัดการโครงการที่ร่วมกันแต่เริ่มแรก เพื่อสามารถระดมสมองมาใช้ร่วมกัน รวมไปถึงการนำองค์ความรู้ของบุคคลากรและค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม เพื่อสามารถผลิตผลงานที่เป็นรูปธรรมที่เกิดจากการทำงานเริ่มกันแต่เริ่มโครงการร่วมกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้านความเข้มแข็งและวิสาหกิจชุมชนและการพัฒนาทุน ให้แก่บุคคลากร ไม่เพียงให้เฉพาะผู้ที่ทำงานในส่วนของนโยบายเช่นส่วนของสำนักปลัดกระทรวงเท่านั้น ควรให้ผู้บริหารหรือพัฒนากรในพื้นที่ได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะในประเทศที่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยากจนได้อย่างประสบความสำเร็จด้วย เช่นยุโรป สหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่นเป็นต้น เพราะฝ่ายปฎิบัติการในพื้นที่เป้าหมายควรได้รับการส่งเสริมให้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล โดยน่าจะจัดให้เดินทางร่วมไปกับกลุ่มของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นหรือกรมที่ดิน หรือกรมโยธาธิการ หรือกรมป้องกันสาธารณภัย เพราะวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนจะต้องบูรณาการในส่วนของการมีส่วนร่วมของชุมชนและต้องเน้นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น จึงจำต้องทำงานควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในส่วนของการพัฒนาคน เพื่อให้สร้างความตระหนักในการดูแลรักษาให้คงไว้ซึ่งความสำคัญของการสรางอำนาจต่อรองของการรวมกลุ่ม ทั้งกลุ่มอาชีพ สตรี เยาวชน ทุนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ การใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมไปถึงการร่วมกันดูแลสมบัติสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน ด้วย เช่นคลอง ถนน อาคาร สถานที่สมบัติส่วนรวมต่างๆ ไม่ใช่ว่าผู้เป็นข้าราชการเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในส่วนของกระทรวงมหาดไทยเอง ยังไม่มีความตระหนัก ความรู้ ในการดูแลชุมชนทั้งจิตใจผู้คน วัฒนธรรมสังคม และยังไม่สามารถชักนำให้ผู้คนในชุมชนได้ตระหนักในการมีจิตสาธารณะช่วยกันดูแลรักษาป้องกันทรัพย์สมบัติส่วนรวม และคอยป้องกันไม่ให้ชุมชนของตนต้องเสียหาย เสียประโยชน์ จากภัยต่างๆ ทั้งภัยจากภัยพิบัติธรรมชาติและภัยมลพิษเกิดกับสิ่งแวดล้อมจากที่มนุษย์ก่อขึ้น ไม่เคยได้รับโอกาสให้ได้เห็น สัมผัส สิ่งที่เป็นต้นแบบแบบอย่างที่ดีถูกต้องทั้งในการบริหารจัดการที่ดี หรือการพัฒนา ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การปกครองท้องถิ่นที่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือตระหนัก และปฎิบัติในพื้นที่ได้ หากได้แต่ส่งบุคคลากรในส่วนกลางหรือส่วนนโยบายไปมากมายแต่ส่วนที่ต้องปฎิบัติการกลับไม่มีโอกาศศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเลย ดังนั้นพัฒนาการอำเภอหรือพัฒนากรในระดับอำเภอและตำบลต้องได้รับโอกาศนี้เป็นจำนวนมากกว่าบุคคลากรที่อยู่ในระดับนโยบายแต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ตามที่ตัวแทนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและกระทรวงการต่างประเทศ พยายามเน้นให้มีความตระหนัก


www.cdd.go.th

No comments:

Fish