รางวัล UN Public Service Awards เป็น รางวัลที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council-ECOSOC) เพื่อมอบให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการด้านการให้บริการสาธารณะด้วยความเป็นมือ อาชีพ โดยรางวัล UN Public Service Awards 2009 มี 4 สาขา คือ
1. สาขาการปรับปรุงความสามารถในการตอบสนอง ความรับผิดชอบ และความโปร่งใสในการบริการสาธารณะ (Improving transparency, accountability, and responsiveness in the Public Services)
2. สาขาการปรับปรุงการให้บริการ (Improving the delivery of services)
3. สาขาการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจโดยการใช้กลไกใหม่ๆ (Fostering participation in policy-making decisions through innovative mechanism)
4. สาขาการเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์ความรู้ภาครัฐ (Advancing knowledge management in government)
ไทย-เขมร ลงนามตั้งหมู่บ้านนำร่องพัฒนา ถ.หมายเลข 67
นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อ.ภูสิงห์ ศรีสะเกษ ร่วมกับจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา มีพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจการดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านนำร่องพัฒนา คุณภาพชีวิตอยู่ดีมีสุข บนถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อัลลองเวง-เสียมราฐ) ซึ่งเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่ โขง (แอคเมคส์)
โดยรัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาในการพัฒนาถนนหมายเลข 67 รวมทั้งการจัดทำโครงการจัดตั้งหมู่บ้านนำร่องพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ดีมีสุข ขึ้นที่เมืองอัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย เพื่อเป็นการพัฒนาหมู่บ้านนำร่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต นำไปสู่การอยู่ดีมีสุข และให้มีการขยายผลไปยังหมู่บ้านข้างเคียงเพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนกัมพูชา อันจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
"การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ตามนโยบายของรัฐบาลทั้งสองประเทศ และแนวทางความร่วมมือพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งศิลปะวัฒนธรรม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและด้านการศึกษา" นายระพี ระบุ
ด้านนายอิง วอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย กล่าวว่า เป้าหมายสุดท้ายของความร่วมมือดังกล่าว คือเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การพัฒนาการเกษตรและการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนของสอง ประเทศ
สำหรับโครงการดังกล่าว กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อสร้างมิตรไมตรีและความไว้วางใจระหว่างประชาชนสองประเทศ โดยจังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานดำเนินการในระดับพื้นที่ตั้งแต่ปี 2549 นอกจากนี้มีอีก 4 โครงการ 21 กิจกรรม งบประมาณ 1 ล้านบาท มุ่งพัฒนาเด็ก โครงการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กรุงเทพธุรกิจ
ก.พ.ร. เผยชื่อ 6 หน่วยงาน 3 โมเดลต้นแบบ พลิกโฉมภาครัฐ บันไดการปรับวัฒนธรรม
"กรมการกงสุล" เบนเข็มทิศพนักงาน จากความคิดเจ้านาย เป็นการทูตเพื่อประชาชน
"ขนส่งทางบก" "ร.พ.บ้านตาก" แม่แบบดึงศักยภาพคน ทำงานเป็นทีม และคิดสร้างสรรค์
ชู I AM READY บริหารจัดการแนวใหม่ เทียบชั้นเอกชน พร้อมเปิดแนวร่วมอีก 200 แห่ง
ตุลาคม 2545 อันเนื่องมาจากการตรากฎการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ของประเทศ มีการปรับรื้อโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการทำงานของข้าราชการที่จะต้องทำงานโดยคำนึงถึงผล ประโยชน์ของรัฐและความพึงพอใจของประชาชน
เป้าหมายสำคัญเพื่อต้องการให้เกิดการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีโดยใช้แนวทาง ใหม่ แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การใช้อำนาจทางการปกครองที่ยึดหลักความเป็นธรรมเน้นความ โปร่งใสและการมีคุณธรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ(ก.พ.ร.) จึงให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมของหน่วยงานและคนในระบบ ราชการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ และในความพยายามที่จะทำเรื่องนี้ให้ลุล่วงอย่างยั่งยืนนั้นทำให้เกิด คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ 8 ประการ ภายใต้คอนเซ็ปต์ I AM READY ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
รองศาสตราจารย์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อหาหน่วยงานต้นแบบในภาครัฐ กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาราชการได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและค่านิยมภายในองค์กรไป บ้างแล้ว บางแห่งมีการปรับก่อนที่จะมีการตรากฎหมายควบคุมเสียอีก
หน่วยงานหนึ่งที่หากไม่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงเสียมิได้ก็คือ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เพราะไม่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงเรื่อง
E-Passports เท่านั้น หากแต่มีการยกระดับความคิดเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรม
ตลอดจนเปลี่ยนมุมมองของข้าราชการกรมการกงสุลไปเลย
การเปลี่ยนทัศนคติของคนที่ทำงานในกระทรวงการต่างประเทศที่จากเดิมใครๆ
ก็รู้ว่าคนที่จบการศึกษาสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น
เป้าหมายหรือทัศนคติลำดับต้นๆ ก็คือต้องการเป็นนักการทูต ทำงานในต่างประเทศ
แต่กระทรวงการต่างประเทศมีการปรับทัศนคติของคนที่เข้าไปทำงานในกระทรวงเสียใหม่
โดยเฉพาะในกรมการกงสุล
โดยใช้หลักการที่ว่า ถ้าจะเป็นทูตก็ได้
แต่ต้องทำงานรับใช้ประชาชนก่อน ต้องมารับหน้างานในเชิงฟังก์ชั่นก่อน
จึง มีการหล่อหลอมแบบใหม่เพื่อเปลี่ยนคนที่จะเข้ามาอยู่ในกระทรวงต่างประเทศให้ มีวิธีคิดแบบใหม่ให้มาทำงานเน้นเรื่องรักที่จะทำงานรับใช้ประชาชน
รักที่จะทำงานในลักษณะที่เรียกว่าการทูตเพื่อประชาชนด้วย
รองศาสตราจารย์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อหาหน่วยงานต้นแบบในภาครัฐ กล่าวว่า
ช่วงเวลาที่ผ่านมาราชการได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและค่านิยมภายในองค์กรไปบ้างแล้ว
บางแห่งมีการปรับก่อนที่จะมีการตรากฎหมายควบคุมเสียอีก
ดังนั้นการใช้เกณฑ์วัดการจัดการภาครัฐแนวใหม่จึงเทียบเคียงกับภาคเอกชนเพราะถือว่าไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
โดยมีกรอบแนวคิดที่เป็นพื้นฐานเดียวกัน คือ
“เป็นหน่วยงานที่ให้บริการโดยเน้นความสะดวกสบายของผู้รับบริการเป็นสำคัญและมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ”
"เกณฑ์การประเมินความสำเร็จของภาคเอกชน เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย
จำกัด (มหาชน) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท
บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ในเรื่องการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด
มีการให้บริการรูปแบบใหม่ๆ และมีวิธีการทำงานอย่างรวดเร็ว"
เมื่อพิจารณาในเกณฑ์ต่างๆ แล้ว มี 6 หน่วยงานประกอบด้วย
1.กรมการกงสุล 2.กรมการพัฒนาชุมชน 3.กรมราชทัณฑ์ 4. การขนส่งทางบก 5.
โรงพยาบาลบ้านตาก และ6. สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและเกิดขึ้นจากภายใน
ดังนั้นการใช้เกณฑ์วัดการจัดการภาครัฐแนวใหม่จึงเทียบเคียงกับภาคเอกชนเพราะ ถือว่าไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โดยมีกรอบแนวคิดที่เป็นพื้นฐานเดียวกัน คือ “เป็นหน่วยงานที่ให้บริการโดยเน้นความสะดวกสบายของผู้รับบริการเป็นสำคัญและ มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ”
"เกณฑ์การประเมินความสำเร็จของภาคเอกชน เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเรื่องการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด มีการให้บริการรูปแบบใหม่ๆ และมีวิธีการทำงานอย่างรวดเร็ว"
เมื่อพิจารณาในเกณฑ์ต่างๆ แล้ว มี 6 หน่วยงานประกอบด้วย 1.กรมการกงสุล 2.กรมการพัฒนาชุมชน 3.กรมราชทัณฑ์ 4. การขนส่งทางบก 5. โรงพยาบาลบ้านตาก และ6. สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและเกิดขึ้นจากภายใน
No comments:
Post a Comment